Thursday, November 15, 2007

Why Thai democracy is going nowhere, and what is needed for progress

Thailand's general election is around the corner. Political parties are registering their MP candidates. The race is on, and all the media attention is focused on it.

In my view, however, Thai democracy has seen very little progress, and its future indeed looks bleak.

Why do I think so?

Simply because the upcoming election and the new constitution offer no concrete solution to the fundamental problems in Thai politics.

What are some of these problems in Thai politics?

Well, I believe one of the most important problems is the FACT that elections ultimately do NOT matter in Thai politics.

The evidence is clear: Looking back in the past 50 years, we have witnessed all together 10 military coups. That's 1 coup every 5 year on average. Thus, it is not an exaggeration to say that military coups, not democratic elections, are the dominant form of power transition in Thailand.

One might argue that democracy has begun to establish itself in Thailand in the past 15 years, after the 1992 popular uprising. This argument, however, fails to recognize the obvious counter-evidence: the 2006 military coup.

Now, one might further argue that Thaksin regime was far from being democratic. To many, Thaksin was seen as a de facto dictator, and nothing, not even a coup, was worse than Thaksin.

However, I would contend that solving this political problem through undemocratic means (like staging a military coup) is by no means better than the Thaksin regime. It is definitely not the correct answer to our fundamental problem. Staging a coup is in fact a way to escape, not tackle, the problem. We are all running away from the problem, instead of facing it.

The fact that a democratic government who had come into office through victory in election was removed by a group of military officers confirms the unfortunate truth: democratic elections ultimately do not matter in Thailand.

Election matters only if the winning government is accepted by the Bangkok elites and the educated middle class. This is indeed a sad truth: Thai politics has always been elite-centric - it is the educated urban elites, not the rural mass, who has the right to determine the course of this country.

The underlying problem is that there exists a conflicting view between the urban middle class (most of whom dislike Thaksin and any corrupt government in general) and the rural lower class (most of whom support Thaksin and do not really care about corruption). This conflicting view has been and is still very much present in the Thai society.

Why do these two broad groups differ in their views? Anek Laothammastas explains this point very well in A Tale of Two Democracies. For the benefit of some readers who might not be familiar with this article, I shall briefly summarize Anek's argument below.

Anek argues that "for rural voters, democracy is valued not as an ideal, but as a mechanism to draw greater benefits from the political elite to themselves and their communities. To them, elections are very much local, not national, affairs... They feel obliged to use their votes as repayment to those who have been friendly, helpful, or generous in coping with daily difficulties while bringing progress and prosperity to their community."

Having lived and witnessed local life in a suburban area, I could not agree more with Anek's above analysis. Just picture yourself as a rural villager without the benefit of urban comfort.
Your life depends on your local patron, who might be the village headman or some other local leaders. As a result, you don't care about corruption or government national policies. All you care about is following what your patron asks you to do in return of the favors the patron has provided you with in daily life.

This is why money politics is the norm in rural Thailand. This is why efforts made by the Election Commission or any other agencies to curb vote buying have been unsuccessful. (It's funny to see the EC make the MP candidates "swear" that they won't buy votes. What a naive and shallow way of curbing vote buying.) It is not because of the politicians' bad habit that they buy votes; it is the social structure and patron-client system in the rural areas that give rise to money politics. As long as there is no significant change in this social structure, money politics will always be there.

Now, let's turn to the educated middle class. Anek argues that "To the educated middle class, elections are means of recruiting honest and capable persons to serve as lawmakers and political executives." He further argues that "although the middle class admits that democracy is rule by the people, the people should be knowledgable and public-regardning... voters should transcend personal or local inerests." In other words, the educated middle class expects their government to be relatively "clean" and "competent".

The middle class, therefore, could not stand a notoriously corrupt governments like Chatichai or Thaksin. The government may be popularly elected by millions of voters, but the urban elites and middle class are willing to disregard these votes (justifying themselves by arguing that these votes have been "bought") and support any means, albeit unconstitutional and undemocratic, to overthrow the government. The elites and the middle class think that they have the right to decide on which government should or should not be in the office, and they believe they are doing it for the best interest of the country.

It is because of this gap in perceptions between the middle class and the rural class that causes "frequent interruptions in the process of democratization." It is because of our inability to find a peaceful, democratic and civilized way to bridge this gap that we often need military interventions in politics, such as the military coups in 1991 and 2006.

Comparing the coup in 2006 to the one in 1991, I see that they share a lot of similarity. In both instances, the coups were bloodless. In both instances, the coups were initially welcomed by many educated middle class. In both instances, the main reason for staging the coup was corruption of the government.

It seems to me that we are going nowhere. We are in fact living in the same old repeated cycle.

The upcoming election offers no sign of progress. It will bring back weak coalition government, just like the old days. It will also bring back strong bureaucrats (military and civilian alike), just like in the old days.

It represents a move away from "popular democracy" and a return to "bureucratic polity", I might say. Yes, that same old "bureucratic polity" incapable of meeting the needs ot the mass and effectively managing the country in this fast-changing global environment.

It is true that Thaksin rule has shown that our "popular democracy" or "popular sovereignty" system has some weaknesses, but a return to "bureaucratic polity" is certainly not the correct answer.

What, then, should be the correct answer?

My opinion is that the Thai urban middle class needs to change their way of thinking. It is good that the educated middle class are actively critical of the government. It is also good that we try to monitor the government on its corruption or bad policies These actions indeed are essential elements to democratic progress.

However, I believe we must not compromise our democratic ideals. We must not accept any undemocratic means to solve political problems and conflict. We must keep in mind that undemocratic means is not the answer, as has been proven several times in our political history.
If democracy doesn't function as well as we want it to, we must not destroy it by relying on such a means as a military coup. We must not disregard the voices of the millions of people whose thoughts differ from ours. Rejecting their opinions are indeed equivalent to looking down on them.

Above all, we must get rid of the belief that we have the ABSOLUTE right to determine the course of Thailand, regardless of what others think. We may try to convince others to believe in what we believe in, but we must get rid of the idea that "we are more educated and better informed than some others, and thus we reserve the superior right to determine Thailand's destiny." In other words, we must start to respect other people's different viewpoints, not rejecting them like we did by welcoming the coup in 2006.

I strongly believe that this change in perception of the politically active middle class is the first important and necessary step that we need to take if we wish to see any real and sustainable progress in our society.

Friday, November 09, 2007

(Almost) The Same Old Politics

With a return to my hectic student's life - papers, exams, parties and everything - I have not been writing my blog for a big while. But upon reading a series of political stories from Thailand, I could no longer remain silent.

The leaked National Security Council document. The strict (and, I must say, stupid) election rules announced by the Election Commission. The same old switching and re-switching of parties among politicians. Continued violence in the deep south. And, worst of all, the controversial security bill which has just been passed!

To be honest, witnessing all these developments, I see no bright future for Thailand. And my gut feeling is suggesting that the worst is yet to come.

.........

Let's turn back the clock to Septermber 2006. In the wake of the coup, the junta leaders assured the public that their sole intention for staging the coup was to resolve the conflict, reform the politics and restore democracy as soon as possible.

Many people in Thailand also voiced their support for the coup on various grounds: It would end Thaksin corrupt regime, it would help resolve political conflict and restore stability, it would help "reform" politics, and so on...

How seriously wrong they all were.

1 year, 1 month and 20 days have passed since the coup took place, and what has Thailand achieved?

Political stability? Political reform? Democratic progress? Peace in the south? - Are you serious?
I think the story is more like this: Deepened political division. Stupid constitution. Continued southern violence. Abuse of power by the junta. Same old politicians in the coming election.

And the worst part: an attempt to bring Thai politics back to the same old elite-centric "bureaucratic polity".

Who matters the most in Thai politics? Who makes decisions on how to govern the country?

The answer is the elites! The military and some civilian bureaucratic elites!

Ok, perhaps not just the elites, but also the upper- and middle-class people in Bangkok. I repeat, people in Bangkok.

What about the 50 million rural people? Well, they get to vote! Oh well, how could I forget that they also has the special privilege to witness their elected government overthrown by a group of elites who claim to be "acting for the best interest of the Thai people".

What are some of their ideas of "the best interest of the people"? Well, I guess they include things like putting the junta people in the Board of state enterprises, trying to make sure the People Power Party doesn't win the election, pushing for such a law as the Security Bill.

And, of course, increasing military budget and buying military jets.

"In the best interest of the people" my ass.

Pardon me for the use of inappropriate words. I don't normally like to be rude or scold at people, but given what Thailand has gone through in the past few years, I think many people deserve a slap on their face.

In my opinion, many members of the press, the academia, and civil society leaders who backed the coup in 2006 should stand up and say to themselves that they have been seriously wrong.

By now, I hope they have learned the lesson that although Thaksin was bad, a coup would not do any good to Thailand either.

"Power corrupts. Absolute power corrupts absolutely."

Instead of relying on undemocratic means (such as coup) to resolve political conflict or remove a corrupt government, we all should come together and think of ways to foster the devlopment of democracy in Thailand.

We should stop criticizing democracy about its weaknesses (such as "election is irrelevant because vote-buying is rampant", "the court system and anti-corruption institutions were ineffective").

We should stop using these weaknesses of our democratic system as an excuse for accepting an undemocratic solution to political problems. In other words, let's stop running away from the fundamental problem.

Instead, we must all help MAKE DEMOCRACY FUNCTIONS BETTER in our society. There can be no more excuse for another coup in the future. We must grow up together.

If there is something positive in Thai politics, I believe it's the fact that many people who used to back the junta have now turned their backs on the junta. I believe they have learned that Thailand has become a complex place, with many diverse interests, and the kind of politics we have had will not do any good to our increasingly complex society facing increasingly complex challenges.

We must not rely on the king or the military to intervene every time the country runs into political conflict. That won't tackle the root of the problem, it's as simple as that.

We need to find better ways to resolve our differences peacefully. How do we do that? Like many other changes, I believe this change must start from within.

We need to change our attitudes toward democracy, toward the people. We must treat all Thais as equal: a rural poor person's opinion and vote (whether it has been "bought" or not) should count as one, just like a military elite's vote.

Thailand is going nowhere without this fundamental change in its people's attitudes.

Wednesday, June 20, 2007

My favortie songs

I've not posted any new blog entry for quite a while.

I swear there are things I want to write about... but somehow I don't feel like writing (aka laziness haha...)

But I think I should have an entry posted... so I decide to just put up an entry on the list of my favorite Thai songs.

.........

Ginola's Most Favorites (the Best of the Best):

แค่ได้พบเธอ - POP
"อยากจะพบเจอเพราะเธอทำให้ฉันเพ้อ คิดถึงเธอ"

หยุด - Grooveriders
"หยุด...หยุดชีวิต หยุดกับคนนี้ แม้ว่าใครจะดีสักแค่ไหน"

เจ้าชายนิทรา - ETC
"ข่มตานอนหลับฝันไม่ยอมตื่น ให้รักเรายั่งยืนอยู่ในฝัน"

ย้ำ - Bodyslam
"แค่อยากจะย้ำ อยากจะย้ำจนเธอนั้นมั่นใจ"

ไม่ต้องมีคำบรรยาย - Mr.Team
"ไม่ว่าอะไรมันคือเหตุผลที่ฉันนั้นรักเธอ ให้รู้ว่ารักเธอเท่านั้นพอ"

ขอบคุณที่รักกัน (Acoustic version) - Potato
"สักวันหนึ่ง ฉันอาจต้องล้มลงอีก ใครจะรู้ แต่ถ้าเธอไปด้วยกันอยู่ ก็ไม่หวั่นกลัวเท่าไร"

ทุกนาทีให้เธอ - UHT
"คำว่ารักเธอ คือที่ฉันมี แปลว่าฉันจะอยู่ตรงนี้ใกล้ๆเธอ มีคนๆนี้ คอยเธอตรงนี้ ทุกนาทีที่เธอต้องการ"

.........

Ginola's Almost the Best of the Best:

ถามใจ - Superglue
"เธอลืมผู้ชายคนนี้ได้หรือไร อ้อมกอดที่คุ้นเคยอยู่ เสียงหัวใจที่เคยได้ยิน รอยจูบที่เคยฝากไว้ในใจเธอ"

ชั่วโมงต้องมนต์ - Friday
"อยู่ในชั่วโมงต้องมนต์ ชั่วโมงที่ใจไหวหวั่น"

คำเชยๆ - Big and the Superband
"อาจเป็นว่าเราเข้าใจกันมานาน ผูกพันจนเกินกว่าจะอธิบาย แต่มีบางคำที่เหมาะสม บางอารมณ์อยากจะใช้ วันนี้มีอะไรจะบอก"


กลับมาได้รึเปล่า - 2 Days Ago Kids
"เมื่อก่อนนี้เคยมีใคร คอยปลอบฉันเมื่อเจ็บช้ำมา วันนี้ไม่มีใคร มีแต่ตัวฉันและน้ำตา"

จูบ - Jetset'er
"ด้วยสายตาและสัมผัส ด้วยรักที่เรามีให้กัน โอ้ฉันจะจูบเธอ"

รักที่เพิ่งผ่านพ้นไป - Grooveriders
"ดนตรี... ยังเล่นอยู่ ฟัง... ฉันฟังอยู่ แต่ว่าในใจนั้นเงียบงัน มีแต่เสียงเพลงที่ว่างเปล่า"

รออยู่ตรงนี้ - Hum
"พยายามรู้จัก พยายามทักทายกับเธอ หวังให้เธอได้มองฉันหน่อย"

คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว - Calories Blah Blah
"ปลายท้องฟ้ากับแดดรำไร ฉันเหมือน...ใจจะขาด"

Aroma - บี Crescendo
"กลิ่นของความรัก มันยังตรึงอยู่ในหัวใจ"

มุม - Playground
"และถ้าวันนึงเธอเหนื่อยล้าจากเรื่องต่างๆ จนเธอรู้สึกว่าโลกนี้เหมือนกับไม่เหลือใคร โปรดจงรู้เอาไว้ ว่าโลกนี้ยังมีความห่วงใย จากมุมเล็กๆตรงนี้เสมอ"

เหตุเกิดจากความเหงา - Emotion Town
"มีคนเคยบอก หากไม่สูญเสียบางอย่าง ก็ยังไม่รู้คุณค่าสิ่งนั้น"

See Scape - Scrubb
"ออกไปมองน้ำและฟ้าที่กว้างใหญ่ ให้ได้กลิ่นดินที่ลมนั้นพัดเข้ามา"

แฟนเทวดา - Freeplay
"อยากเป็นแฟนกับเทวดา จะได้ไปเป็นนางฟ้าใช่ไหม"

ฤดูที่แตกต่าง - Boyd
"เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็จะสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ"

ชายคนหนึ่ง - ปีเตอร์ คอร์ป
"เธอไม่ต้องกังวล เธอไม่ต้องเกรงใจ ความรักฉันที่ฝากไว้ เป็นเรื่องง่ายกว่านั้น"

บอกรักกับดาว - วิเชียร ตันติวิมลพันธุ์
"เพราะไปหลงรักเจ้าดาว เกิดเรื่องราวจนร้อนใจอยากบอกรักกับดาว"

ยอม - POP
"ห้ามไม่ได้แล้ว หัวใจ จะไม่ยอมปล่อยเธอให้ไปจากฉัน"

.........

Ginola's Favorites:

เพียงพอ - Potato, นิดนึงพอ - Friday, จะรักให้เธอลืม - ไอน้ำ, เธอกับฉัน - Love, คนที่ไม่เข้าตา - Calories Blah Blah, Soulmate - Playground, ทุกอย่าง - Scrubb, แค่เธอก็พอ - Grooveriders, มีกันตลอดไป - Amari, บอกให้รู้ว่ารักเธอ - ดัง, นอนกับความเหงา - โรส, ยามเมื่อลมพัดหวน - เจ, รักคนมีเจ้าของ - ไอน้ำ, เล่นของสูง - Big Ass, พื้นที่เล็กๆ - บอย ตรัย, สายลมที่หวังดี - ทราย, สักวันฉันจะดีพอ - Bodyslam, คำถามโง่ๆ - Boyd, ฟ้า - Basher, โปรดส่งใครมารักฉันที - Instinct, , เธอเท่านั้น - เอิ้น พิยะดา, ไม่เคยจะห่างกัน - เอิ้น พิยะดา, รู้ตัวช้า Jo-Pop, ภาพเวลาเดิมๆ - Good September, คืนเหงา - Foggy Groove, ความรักท่วมหัว - Pancake, เรื่องธรรมดา - เจมส์, ให้ท่า - Basher, หนาว - The Strangers, ข้ามรุ่น - เล้าโลม, เธอที่มาพร้อมกับความรัก - The Strangers, ใกล้ - Scrubb, คืนที่ดาวเต็มฟ้า - โมทย์, ลืมไม่เป็น - เอ็ม อรรถพล, ใครสักคน - Paradox, ไม่มีเหตุผล - บอย ตรัย, ตกหลุมรัก - โอ้ เสกสรรค์, เธอคือใคร - ETC, เพราะเธอ - ETC, ไม่อยากให้เธอมีใครมาจีบ - JKI, อยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว - ตุ้ย ธีรภัทร, เพื่อเธอ - I-Zax, เธอร้องไห้เมื่อหน้าฝนและพบใครบางคนเมื่อหน้าหนาว - โตน sofa, คะแนนแห่งชีวิต - เบน ชลาทิศ, คนๆนี้จะไม่ไปจากเธอ - All for Men, ไม่มีใครรู้ - เป๊ก, ไม่กล้า - Emotion Town, ช่างไม่รู้เลย - OST เพื่อนสนิท, ที่แห่งนี้ - POP, ไม่บังเอิญ - กุลวัฒน์, แค่ได้คิดถึง - ญารินดา, เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม - บิลลี่, รักของเธอมีจริงหรือเปล่า - POP ฯลฯ...

.........

I think music is one of the most beautiful and mysterious things in this world.

I mean I'm not at all musically talented - I can't sing or seriously play musical instrument. But I think it really is a wonder how emotionally powerful music can be.

Some of songs are delicately written with fancy lyrics and wonderful melodies. Others are filled with simple lyrics and melodies.

Yet they all can reach the deepest of my souls.

They can make me smile or cry or dance or dream... or even give me some inspirations during bad times...

Let's the music refresh our souls and heal the wounds in our world!

Monday, April 30, 2007

What should we do?

Today, the Bank of Thailand published the latest monthly data of the Thai economy (See the data or report). As far as economic growth is concerned, the figures certainly look so depressing and worrying enough that I decide to postpone my blog on “When I fall in love” and write a blog on Thailand’s economic conditions instead.

The latest economic data strongly suggests that we are indeed in a recession.

Private investment continues to slow down, as reflected by the slower growth of the MPI (Manufacturing Production Index) and the negative year-on-year growth of the PII (Private Investment Index). Private consumption is also very sluggish, with the PCI (Private Consumption Index) exhibiting negative year-on-year growth.

The tourism sector continues to grow, albeit at a slow rate. VAT and corporate income tax collections, both of which are indicators of current economic activities, also exhibit very low and negative growth rates respectively. The only two bright sides of the economy are the low-inflation environment and the export sector, whose growth remains very strong.

If things continue to be as they are right now, this year’s economic growth is expected to be around 4%, lagging behind the growth of most other emerging economies. Moreover, if domestic demand does not start to recover soon, the vulnerability of the economy to external shocks will become increasingly threatening. A slowdown in our major trading partners’ economies will have severe impact on our economic growth. Worst of all, if the price of oil keeps rising, we could end up with a high-inflation and sluggish-growth environment – a difficult situation indeed for economic policymakers.

This may seem overly pessimistic to some observers but it is my personal belief that, when it comes to public policy-making, being reasonably risk-averse and cautious is more beneficial to the society than being overly confident and optimistic.

So, what should we do now to boost growth and avoid serious recession? Macroeconomic-wise, given the latest economic information, the policy choice is clear: expansionary fiscal and monetary policy.

In its next meeting, it is likely that the Monetary Policy Committee will further lower the policy interest rate, quite probably by 50 basis points. However, monetary policy takes a long time to affect the economy and its effectiveness depends on whether the available transmission mechanisms work well or not. So, fiscal policy should play an active and leading role in stimulating the economy this year.

Anyway, these macroeconomic policies are short-run economic stabilizers. The long-term future of the Thai economy is still unclear. The most serious and challenging question we need to address is: how do we increase the competitiveness of Thai firms? After all, long-term economic growth is driven by productivity improvements. And I wonder, what have our governments – past and present - done about this?

I think our beloved country desperately needs a vision and a well-defined strategy of where we want to go from here. Unfortunately, amid all the current political and economic uncertainties and conflicts, I can’t really see how we could practically come up with that vision or strategy. It seems like everyone is trying to survive each day, which is difficult enough, and doesn’t really care what the future lies.

What should we do?

Tuesday, April 24, 2007

เมื่อผม...ตกหลุมรัก!

จั่วหัวไว้แบบนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าผมไปปิ๊งสาวไหนเข้าให้นะครับ

ยังครับ ยังไม่ได้ปิ๊งใครใหม่ในช่วงนี้...

ขอเวลาให้หัวใจได้เว้นวรรคพักร้อนบ้าง

แต่วันก่อนผมไปเจอหนังสือเล่มนึง เขียนโดยผู้หญิงคนหนึ่ง

อ่านแล้วอยากบอกว่า...

แอบปลื้มและตกหลุมรักเธอเข้าอย่างจัง

เธอคือใคร? ใครคือเธอ? ทำไมเธอถึงทำให้ผม (และคงจะอีกหลายๆคนที่ได้อ่านหนังสือของเธอ) ตกหลุมรักเธอได้?

อดใจรอสักพักนะครับ ตอนนี้ยุ่งมากกับหลายๆเรื่อง อาทิตย์หน้าว่างแล้ว จะมาเขียนถึงเธอคนนี้ครับ :)

Monday, April 16, 2007

tag แฉความลับ (ข้อ 4-5)

หลังจากที่ผมได้แฉความลับตัวเองไป 3 ข้อแล้วใน tag แฉความลับ (ข้อ 1-3) วันนี้ขอเขียนต่ออีก 2 ข้อที่เหลือนะครับ

ข้อสี่ ข้อนี้ผมขอตั้งชื่อว่าเรื่อง "ซ้ายๆขวาๆ" ของผม

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าผมจะพูดถึงเรื่อง ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ปรัชญาเศรษฐกิจหรือการเมืองนะครับ

เรื่องที่ผมจะพูดมันไร้สาระกว่านั้นมากๆ ฮ่าๆ...

ผมเป็นคนถนัดขวาโดยกำเนิด ใช้มือขวาเขียนหนังสือ ใช้มือขวาเล่นเทนนิส ปิงปอง ฯลฯ

ตอนประถม สมัยผมเริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรก ผมก็ใช้เท้าขวาเล่นบอล

แต่จำได้ว่าตอน ป.4 ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร แต่อยู่ดีๆ ผมก็เกิดอาการอยากใช้เท้าซ้ายเตะบอลบ้าง

อาจเป็นเพราะเพื่อนผมส่วนใหญ่ถนัดเท้าขวา ผมเลยอยาก "แนว" ด้วยการเป็นนักเตะถนัดซ้าย

ผมเลยลองฝึกเตะบอลด้วยเท้าซ้ายดู

เชื่อหรือไม่ ผมกลายเป็นนักฟุตบอลถนัดซ้ายไปในเวลาไม่ถึงปี

แต่จะว่าไป ผมก็ใช้เท้าซ้ายได้ไม่ดีเท่ากับคนที่ถนัดซ้ายโดยธรรมชาติ

เพราะแม้ผมจะใช้เท้าซ้ายได้ดีกว่าเท้าขวาในการจับบอล จ่ายบอล โยนบอล และยิงบอล แต่ผมไม่สามารถใช้เท้าซ้ายเลี้ยงบอลให้ดีได้

เท้าขวาของผมยังคงใช้การได้ดีกว่าเท้าซ้ายเมื่อพูดถึงการคอนโทรลบอลและเลี้ยงบอล

กลายเป็นว่า ทุกวันนี้เวลาผมเล่นบอล พอได้รับบอล ผมจะเลี้ยงด้วยขวา แล้วล็อกเข้าซ้ายหาจังหวะส่งหรือยิงประตู

แบบนี้ผมพบว่าก็ดีไปอีกแบบ เพราะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะจับทางยากขึ้น เหมือนแบบ "ทำไมไอ้นี่มันเลี้ยงด้วยขวา แล้วไปๆมาๆมันยิงหรือส่งด้วยซ้ายฟะ"

อืม.. ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้แอบไร้สาระ เอาเป็นว่าผมขอสรุปว่าบทเรียนของเรื่องนี้ก็คือ ถึงเราถนัดขวาโดยธรรมชาติ เราก็สามารถฝึกใช้เท้าซ้ายที่ไม่ถนัดให้ดีได้ เพราะฉนั้น ทุกอย่างเป็นไปได้หากเราตั้งใจฝึกฝนนะครับ

.........

อีกเรื่องเกี่ยวกับ "ซ้ายๆขวาๆ" ของผมนั้น เกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนหนึ่งบนใบหน้าครับ

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "หู" ของผมเอง

หูผมไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร มันใช้รับฟังสิ่งต่างๆ ได้ดีเหมือนคนทั่วไป

หูผมไม่ได้กาง ไม่ได้ยาน เป็นพิเศษอะไร และไม่ได้แนบชิดติดข้างใบหน้าเป็นพิเศษแต่อย่างใด

แต่เรื่องของเรื่องคือ หูซ้ายกับหูขวาของผมมันมีขนาดไม่เท่ากันครับ!

ผมเพิ่งจะสังเกตเห็นถึงความไม่เท่ากันนี้เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

คือหูซ้ายของผมมันใหญ่และกางออกมากกว่าหูขวาอย่างค่อนข้างชัดเจน (ถ้าสังเกตดู)

แปลกดีไหมครับ มือ เท้า ตา ขา และแขนของผมมันก็เท่ากันทั้งสองข้าง แล้วทำไมหูมันถึงได้ไม่เท่ากันได้ละเนี่ย...???

ข้อห้า มาถึงข้อสุดท้ายเลยดีกว่า ข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความใฝ่ฝันของผม


ตอนเด็กๆ หรือแม้กระทั่งตอนโต พวกเราทุกคนต่างก็มีความใฝ่ฝัน อยากทำนู่นเป็นนี่ ผมเองก็มีความฝันเช่นกัน

ความฝันหนึ่งของผมคือการเป็นนักฟุตบอลอาชีพค้าแข้งในอังกฤษ

ผมเริ่มเล่นบอลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ ป.4 เล่นบอลกีฬาสีสมัยประถม ตอนเรียนมัธยมที่สิงคโปร์ก็เล่นบอลให้หอพัก เรียนที่ธรรมศาสตร์ก็เล่นให้บีอี

ตอนไปแลกเปลี่ยนที่ UC Davis ก็ไปเล่นที่นั่น (จำได้ว่ามีวันนึงที่ Davis มีเด็กจีนเตะบอลกันสิบกว่าคน ผมก็ไป "เนียน" เล่นด้วย ทั้งๆที่พวกเขาพูดภาษาจีนกันหมด เวลามันพูดกับผมผมก็พยักหน้าเออออไปเรื่อยทั้งที่ไม่เข้าใจที่มันพูดสักอย่าง แต่ก็ใช้ภาษาฟุตบอลสื่อสารกันพอได้ ฮ่าๆ)

ตอนนี้ทำงานที่แบงก์ชาติก็เล่นบอลอาทิตย์ละครั้งตอนเย็น (ที่แบงก์มีคนเตะบอลกันทุกวันตอนเย็นครับ) แล้วก็ทุกวันอาทิตย์ก็นัดเตะบอลกับเพื่อนๆที่บีอี

การเล่นฟุตบอลจึงเป็นกิจกรรมที่ผมรักมากถึงมากที่สุด เวลามีความสุข ผมก็อยากเล่นบอล เวลาเครียดๆหรือเสียใจอะไร ผมก็อยากเล่นบอล มันทำให้ผมลืมความเครียดหรือความเศร้าได้ดีมากๆ

แล้วเวลาอยากเล่น แต่มีอะไรบางอย่างทำให้ไม่ได้เล่น (เช่น ฝนตก หรือหาเพื่อนเล่นไม่ได้) ผมจะหงุดหงิดเอามากๆ

ด้วยเหตุนี้ ผมถึงอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพเล่นให้กับสโมสรที่ผมรักคือ ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์ อยากเล่นให้ทีมชาติไทย พอเลิกเล่นก็เป็นโค้ชต่อ แล้วก็รับจ็อบเป็นผู้บรรยายฟุตบอลด้วย และถ้าให้ดีอยากเป็นโค้ชทีมชาติไทยที่สามารถพาทีมไปบอลโลกได้สำเร็จ

ผมแอบเชื่อลึกๆในใจว่า ถ้าผมมีโอกาสได้ฝึกหัดฟุตบอลกับสโมสรที่อังกฤษตั้งแต่ตอนเป็นเยาวชน ผมจะสามารถทำฝันนี้ให้เป็นจริงได้

แต่ชีวิตจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นน่ะสิครับ หุหุ

อีกความฝันนึงของผม ต้องย้อนไปตอนสมัยเรียน ม.ต้น ครับ

ตอนนั้น ผมชอบเรียนวิทยาศาสตร์มาก ผมเลยฝันอยากเป็นครูมัธยมสอนวิทยาศาสตร์ จำได้ว่าผมจินตนาการอยากเป็นครูที่มีรูปแบบเทคนิคการสอนที่แปลกๆ สนุกๆ ไม่น่าเบื่อ อยากพาเด็กไปเรียนนอกห้องเรียน และอยากเป็นครูที่นักเรียนอยากเรียนด้วย

แต่พอโตขึ้น ความฝันนี้ก็เลือนหายไป แต่ก็ไม่ได้หายไปสักทีเดียว


เพราะผมยังชอบสอนและอยากสอนหนังสืออยู่ไม่เปลี่ยน

ย้อนไปตอนปีหนึ่งสมัยเรียนที่ธรรมศาสตร์ วิชาแรกที่ผมเรียนและชอบมากคือ Microeconomics

ตอนนั้นผมและเพื่อนๆ จะนัดกันติวอยู่บ่อยๆ โดยเพื่อนๆจะขอให้ผมช่วยเป็นติวเตอร์ให้ ซึ่งผมก็รับเป็นติวเตอร์ด้วยความยินดียิ่ง

เรามักจะนัดติวกันไปเปิดห้องติวกันที่ชั้น U3 ของหอสมุดปรีดี ห้องมันก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรแต่เราก็อัดๆกันเข้าไปกันได้ นั่งเบียดๆกันได้เป็นสิบๆคน (บรรยากาศอบอุ่นมาก)

ผมต้องคอยซื้อปากกาไวท์บอร์ดติดไว้ (ต้องมีอย่างน้อยสองสี เพราะการสอนเสดสาดต้องมีกราฟเยอะ ถ้าใช้ปากกาสีเดียวจะงงเอาได้ง่ายๆ) ส่วนเพื่อนๆก็จะเตรียมทิชชูไว้สำหรับลบกระดานในกรณีที่ไม่มีแปรงลบ

การที่ผมเป็นติวเตอร์ ไม่ได้แปลว่าผมต้องรู้มากและเก่งกว่าเพื่อนๆในเนื้อหาวิชาหรอกนะครับ มีบ่อยครั้งไปที่ผมเจอเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ และต้องอาศัยเพื่อนๆคนอื่นช่วยอธิบาย

สิ่งสำคัญของการเป็นติวเตอร์คือการสังเคราะห์เนื้อหาที่เรียนให้ดี แล้วถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ทำให้คนเรียนรู้สึกสนใจและมีทัศนคติที่ดีในเรื่องที่เรียน ให้เขามีพื้นฐานที่ดีเพื่อไปต่อยอดได้ด้วยตัวเองต่อไป...


หลังจากติววิชา Micro ผมก็เปิดติววิชาอื่นมาเรื่อยๆ ทั้งที่มหาลัยและนัดไปติวกันที่บ้านเพื่อน

ผมเคยติววิชาแคลคูลัสให้น้องๆที่จะสอบเข้าบีอี รู้สึกดีใจและตื้นตันใจมากๆตอนที่ติวจบแล้วมีน้องเดินเข้ามาบอกว่า "พี่ๆ ขอบคุณมากเลย ผมไม่เคยเข้าใจว่าแคลคูลัสคืออะไร ไม่เข้าใจว่า diff คืออะไร เพิ่งจะเข้าใจก็วันนี้แหละพี่"

แต่ถ้าถามว่าน้องคนนั้นสอบได้หรือเปล่า อันนี้ผมไม่รู้จริงๆ (ฮา)

นอกจากนี้ ผมก็เคยสอนภาษาอังกฤษให้น้อง ม.ต้น และ ม.ปลาย ทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบหลายๆคน ซึ่งผมก็มีความสุขจากการสอนอย่างมาก

แต่การติวที่ผมประทับใจที่สุด ต้องยกให้การติววิชา EE460 Thai Economy ซึ่ง อ.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนครับ

วิชานี้ ขึ้นชื่อลือชาว่าหิน ยิ่งเมื่อได้อาจารย์คุณภาพคับแก้วอย่าง อ.นิพนธ์ เป็นคนสอนด้วยแล้ว ความหินยิ่งเพิ่มขึ้นแบบ exponential

เป็นวิชาที่มีเพื่อนๆ request ขอให้เปิดติวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เลยครับ

ตอนก่อนสอบ mid-term ผมก็เปิดติวใหญ่หนึ่งครั้ง ซึ่งตอนนั้นจำได้ว่าไม่สามารถหาจองห้องเพื่อติวได้ สุดท้ายเลยลงเอยด้วยการติวที่ "คอมม่อน" (บริเวณใต้คณะเศรษฐศาสตร์)

เพื่อนผมไปลากกระดานไวท์บอร์ดมาจากห้องกิจกรรมนักศึกษามาตั้งไว้ด้านหลังคอมม่อน (หลังกระดานเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา) แล้วก็จัดแจงเคลื่อนย้ายโต๊ะและม้านั่งให้เหมาะสมแก่การนั่งฟังการติว

ส่วนผมก็กะว่าจะจับปากกาไวท์บอร์ดแล้วติวปากเปล่าแบบ open air อยู่ตรงนั้น

แต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ มาฟังกันเกินคาดครับ มากัน 30-40 คน และด้วยความที่บริเวณนั้นเป็น open air ทำให้หลายคนไม่ได้ยินในสิ่งที่ผมพูด

เพื่อนผมเลยอุตส่าห์ไปหาโทรโข่งมาให้...

ผมก็ยืนติวตรงนั้น มือซ้ายถือโทรโข่ง (โทรโข่งนะครับ ไม่ใช่เบาๆเหมือนไมโครโฟน) มือขวาจับปากกาเขียนไวท์บอร์ด ปากก็พูดๆไป... เป็นเวลาเกือบสี่ชั่วโมง...

ระหว่างติวก็ต้องมีการพักบ้าง เพื่อนๆก็ซื้อน้ำซื้อขนมมาเสิร์ฟอยู่เรื่อย... บางทีคุณป้าร้านขนมก็จะเอาขนมเอาน้ำมาให้แบบจะไม่ยอมคิดตังค์ แล้วก็มักจะถามผมบ่อยๆว่า "เอก... เอกจบแล้วจะมาเป็นอาจารย์รึเปล่า ป้าว่าเอกเหมาะมากเลยนะ"

วันนั้นพอติวเสร็จ ผมแทบจะล้มนอนตรงนั้นเลยครับ เป็นการติวที่เหนื่อยที่สุด เมื่อยที่สุด (ทั้งแขนและขา) แต่ก็ประทับใจและอิ่มเอมใจที่สุดเช่นกัน...

พอตอนใกล้สอบ final ผมก็เปิดติวอีกครั้ง คราวนี้กะว่าจะติวกันกลุ่มเล็กๆ เลยนัดแนะกันว่าจะไปติวกัน 6-7 คนที่บ้านเพื่อนสนิทคนนึงแถวรามอินทรา

แต่ก่อนถึงวันนัดหนึ่งวัน ปรากฏว่าเพื่อนๆคนอื่นมากมายเริ่มรู้ว่าจะมีการเปิดติว ข่าวแพร่สะพัดอย่างรวดเร็วดังตลาดเสรีที่มี perfect information...

ถึงวันนัดติวจริงๆ ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ มาที่บ้านเพื่อนผมที่รามอินทรากว่า 40 คน!

ดีที่บ้านเพื่อนคนนี้มันกว้างขวาง สามารถรองรับคนจำนวนนี้ได้ แม้บางคนจะต้องแชร์เก้าอี้กัน บางคนจะต้องนั่งพื้น แต่ก็พอนั่งกันได้

วันนั้นติวกันตั้งแต่ประมาณ 9 โมงกว่า พอตอนเที่ยงก็พักกินข้าวกัน ซึ่งคุณแม่ของเพื่อนผมก็สั่งอาหารตามสั่งร้านแถวบ้านใส่กล่องโฟมมาเลี้ยงทุกคน

มีทั้งข้าวกระเพรา ข้าวหมูทอด ข้าวผัด ฯลฯ พวกเรานั่งกินข้าวกล่องกันเป็นวง เป็นกลุ่มก้อน บรรยากาศดูอบอุ่นน่ารัก เหมือนมาออกค่ายอยู่กลายๆ

พอตอนบ่ายก็ติวต่อจนเย็น จึงแยกย้ายกลับบ้าน...

เป็นอีกวันที่เหนื่อยมากๆ แต่ก็ดีใจมากเช่นกัน

มันเหมือนเป็นความอิ่มเอิบใจที่ได้ทบทวนความรู้ให้กับเพื่อนๆ และก็อย่างที่บอกว่าผมไม่ได้รู้มากไปกว่าคนอื่น มันเหมือนพวกเรามาช่วยกันเรียน มา discuss กัน โดยที่ผมเป็นเหมือนคนปูพื้นฐานและคนนำอภิปรายแค่นั้นเอง

บางเรื่องที่ผมติวก็มีคนแย้งว่ามันผิดนะ เค้าเข้าใจอีกแบบหนึ่ง แล้วเราก็ถกกัน บางเรื่องที่ผมไม่แน่ใจไม่เข้าใจ ก็จะมีเพื่อนคนอื่นช่วยอธิบายแทน ผมก็ได้เรียนรู้จากเขาไปด้วย

ส่วนใครที่รู้น้อย อ่านหนังสือมาน้อย ก็จะได้ความรู้พื้นฐานของเนื้อหาวิชาไป แล้วก็ไปอ่านต่อยอดเองได้

ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมรู้สึกว่าการเป็นครูเป็นอาจารย์นั้น เป็นงานที่ช่วยสร้างคุณค่าให้แก่คนอื่นอย่างเห็นได้ชัด (แม้ความจริงจะปรากฏว่า ในวิชา EE460 ที่ผมติวนั้น มีคนได้ A อยู่ 3-4 คน ซึ่งทุกคนที่ได้ A นั้น เป็นคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้มาติวกับผมก่อนสอบ final ส่วนคนที่มาติวกับผมนั้นไม่มีใครได้ A เลย... เอ.. มันแปลว่าอะไรเนี่ย... :) แต่ถึงผลจะออกมาแบบนั้น ในเทอมต่อมาผมก็ยังมีโอกาสได้ติวให้เพื่อนๆที่เรียนวิชานี้ในเทอมสองด้วย)

อย่างไรก็ดี ผมก็หวังว่า ชีวิตนี้ยังไงก็ขอเอาดีให้ได้สักเรื่องเพื่อที่จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้สักวิชา จะเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พาร์ตไทม์ก็สุดแล้วแต่...

เป็นอาจารย์ที่ทำให้ลูกศิษย์เกิดความสนใจ เกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาต่อยอด สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดคุณค่าแก่ตัวเขาและแก่สังคม

และผมคงจะดีใจและมีความสุขมาก หากวันนึงผมได้เห็นลูกศิษย์ของผมประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขามุ่งหวังแล้วเดินกลับมาบอกผมว่า "ขอบคุณมากครับ/ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์"

Monday, April 09, 2007

สายฝนที่โปรยปราย

ฝนกำลังตกลงมาอย่างหนัก หลังจากที่อากาศในกรุงเทพร้อนจัดมาหลายวัน

ผมเลี้ยวรถฮอนด้าซีวิคคู่ใจเข้าสู่ตลาด บอง มาเช (Bon Mache) ย่านประชานิเวศน์ ในรถมีพ่อและแม่ร่วมโดยสารมาด้วย

พ่อ แม่ และน้องชายของผม กำลังจะไปบินไปเมืองจีนในวันพรุ่งนี้ เพราะแม่จะต้องไปประจำราชการที่นั่นเป็นเวลาหลายปี

วันนี้ ผมพาแม่มาเอาชุดที่ตัดไว้ที่ร้าน “อัญชัน” ในตลาด บอง มาเช แห่งนี้

ตลาด บอง มาเช แห่งนี้เป็นตลาดสไตล์ Community Marketplace ที่นี่มีทะเลสาบสวยตั้งอยู่ตรงกลาง สองด้านของทะเลสาบเป็นที่ตั้งของร้านขายอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม ผักผลไม้ และขนมของกินคุณภาพดีอีกมากมาย เราสามารถซื้อหาอาหารมานั่งทานพร้อมกินลมชมวิวริมทะเลสาบได้อย่างแสนสบาย

อีกสองด้านของทะเลสาบถูกออกแบบเป็นตึกสองชั้น มีระเบียงทางเดินแบบ open air โดยสองข้างทางมีร้านค้าขายของสารพัดชนิดตั้งเรียงรายอยู่ ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับแปลกๆ ของเก่า ของตกแต่งบ้าน มีสาขาธนาคาร ร้านนวดแผนไทย ฯลฯ

ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงหลังสี่โมงเย็น ทางตลาดยังได้จัดให้มีเวทีแสดงเพลง Jazz เพราะๆ ให้ฟังกันสบายๆริมทะเลสาบอีกด้วย

แม้จะไม่มีโอกาสได้มาเยือนที่นี่บ่อยนัก ตลาด บอง มาเช ก็นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดที่ผมชอบมากแห่งนี้

แต่ทุกครั้งที่ผมมาที่นี่ ลมฟ้าอากาศจะสดใส ไม่เคยมีสักครั้งที่จะมีฝนตกลงมาหนักเหมือนวันนี้

.........

พ่อ แม่ และผมไปถึงที่นั่นตอนบ่ายโมงกว่า พวกเราหิวกันมาก เลยตรงไปที่โซนขายอาหารก่อนเป็นอันดับแรก

หลังจากพ่อผมเลือกหาโต๊ะนั่งได้ตัวหนึ่งที่ริมทะเลสาบ พ่อและแม่ก็เดินออกไปหาซื้ออาหาร

ส่วนตัวผมก็นั่งลงที่ตรงนั้น สายตาผมเหม่อมองจ้องจดไปที่โต๊ะสีขาวตัวหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ไกลนัก โต๊ะตัวนั้นมีเก้าอี้พลาสติกสีขาวสี่ตัวล้อมรอบ

วันหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้... “ผม” และ “เธอ” เคยนั่งอยู่ที่โต๊ะตัวนั้น...

ท่ามกลางสายฝนที่ยังคงตกลงมาอย่างหนัก ใจผมเริ่มล่องลอยออกไป... ลอยไป... ลอยไป... ลอยกลับไปยังอดีตที่ไม่เคยเลือนหายไป...

อดีต... ที่คงไม่มีวันหวนกลับคืนมา...

.........

ที่นี่ในวันนั้นแตกต่างจากที่นี่ในวันนี้...

วันนั้น เป็นวันที่อากาศสดใส ไม่มีพายุฝนเช่นวันนี้

วันนั้น ความรู้สึกของผมไม่เหมือนในวันนี้

ความรู้สึกของเธอก็เช่นกัน... วันนั้น มันแตกต่างจากในวันนี้

วันนั้น ผมไม่เห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งที่ผมควรจะเห็น... วันนี้ ผมเพิ่งจะมาเห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งนั้น

วันนั้น ผมมีโอกาส แต่เลือกที่จะไม่ไขว่คว้ามัน... วันนี้ ผมเฝ้ามองหาโอกาสนั้น แต่มันไม่มีอีกแล้ว

.........

ฝนตกหนักขึ้นกว่าเดิม...

ผมนั่งคิดถึงภาพเหตุการณ์ในวันนั้น พร้อมกับฮัมเพลง “รักที่เพิ่งผ่านพ้นไป” ของ Groove Rider แข่งกับเสียงสายฝนที่ตกกระทบพื้น...

“เคยนั่งตรงนี้ เก้าอี้ตัวนี้ อยู่ข้างๆเธอ
เป็นที่ประจำ ที่เธอและฉัน จะนัดกันเสมอ
แต่วันนี้ ที่เดิมตรงนี้ ที่ฉันได้เจอ
ทุกอย่างคงเดิม บรรยากาศเดิมๆ แต่ไม่มีเธอ...”

“ดนตรี... นั้นเล่นอยู่...
ฟัง... ฉันฟังอยู่...
แต่ว่าในใจนั้นเงียบงัน
มีแต่เสียงเพลงที่ว่างเปล่า
จบลงแล้วความรักของเรา
ไม่มีเขาเคียงข้างอีกแล้ว ไม่มีคืนวันที่สดใส
ดื่มให้ตัวเองอีกที กับรักที่เพิ่งผ่านพันไป...”

ไม่รู้ทำไม สายฝนถึงทำให้ผมรู้สึกหนาบเหน็บไปถึงขั้วหัวใจได้เช่นนี้

ไม่รู้ทำไม หัวใจผมถึงได้สั่นไหว พร้อมๆกับน้ำตาที่ไหลซึมออกมา...

.........

สายฝนเริ่มโปรยปรายลง...

แปลก – ทั้งที่น้ำตายังคงไหลซึม ผมกลับอมยิ้มได้

ผมยังคงใคร่ครวญคิดถึงภาพในวันนั้น...

ความรู้สึกอบอุ่นสุขใจพัดผ่านเข้ามาโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่ความหม่นหมองและอ่อนไหวในใจก็ยังคงอยู่

เกิดเป็นความรู้สึกที่บอกไม่ถูก... ไม่รู้ว่าดีหรือร้าย ไม่รู้ว่าดีใจหรือเสียใจ ไม่รู้ว่าสุขหรือทุกข์

เป็นอารมณ์ผสมผสาน คลับคล้ายกับบรรยากาศของสายฝนที่กำลังโปรยปราย...

สายฝนที่โปรยปรายลงมา... นำความอึมครึมหม่นหมองมาให้... แต่พร้อมกันนั้น มันก็นำความสดชื่นเย็นสบายมาให้หัวใจผมเช่นกัน

.........

ฝนหยุดแล้ว...

ไม่มีแสงแดดแผดส่องอย่างที่หวัง ฟ้าหลังฝนยังคงถูกปิดบังด้วยมวลเมฆ

บรรยากาศยังคงอึมครึม แต่ความเย็นฉ่ำสดชื่นยังคงอยู่

น้ำตาไม่ได้เล็ดไหลออกมาแล้ว...

ไม่มีเสียงหัวเราะหรือความสุขที่อยากมี ความหม่นหมองยังคงปกคลุมจิตใจของผม

หัวใจของผมยังคงอึมครึม แต่ถึงกระนั้น ความอบอุ่นอิ่มใจก็ยังไม่ได้หายไปไหนเลย

.........

วันเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน อากาศเปลี่ยน คนเปลี่ยน

“เธอ” เปลี่ยน... “ผม” ก็เปลี่ยน

วันนี้ “อะไรๆ” เปลี่ยนแปลงไปมากมาย

แต่ทั้งๆที่รู้ ว่าควรจะยอมรับและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนั้น บางครั้ง ผมก็ห้ามใจไม่ได้...

บางครั้ง ผมยังคงยึดติดและหวนคิดถึงภาพเหตุการณ์แต่ละฉากแต่ละตอนในช่วงเวลาก่อนที่ “อะไรๆ” มันจะเปลี่ยนไป...

เมื่อหวนคิดถึงภาพเหล่านั้น...

บางที พายุฝนก็พัดเข้ามาถล่มให้หัวใจรู้สึกทรมานเกินทน

บางที สายฝนโปรยปรายและฟ้าหลังฝนก็เข้ามาสร้างความสดชื่นปนขมขื่นให้หัวใจ

จะมีไหมวันไหนมั้ย ที่ผมจะหวนคิดถึงเรื่องราวในอดีต โดยที่หัวใจไม่ต้องเผชิญกับสายฝน... ให้ท้องฟ้าในหัวใจผมสดใสไม่อึมครึม

แต่จะว่าไปแล้ว ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าความสดใสที่ปราศจากสายฝนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ผมคิดถึงวันเวลาที่ผ่านมา แต่ผมไม่ได้อยากให้วันเวลาเหล่านั้นหวนกลับมา

ผมแค่อยากได้ “โอกาส” ที่จะทำให้วันนี้ดีเหมือน (หรือดีกว่า) วันนั้น

แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็คิดว่าผมไม่ควรได้รับ “โอกาส” ที่ผมใฝ่หานั้นเสียทีเดียวนัก

สรุปแล้ว ผมยังคงไม่แน่ใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปดี

ผมไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรต่อไป ผมไม่รู้ว่าจะจบเรื่องนี้ยังไง ผมไม่รู้จริงๆ

อาจบางที - ไม่รู้ดีหรือไม่ - ผมควรจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่มัน “ควรจะ” เป็น ตามความรู้สึก ตามสภาพการณ์ ตามโชคชะตาพรหมลิขิต ตามทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง...

แม้มันจะยากเย็นและเจ็บปวด แต่การปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามที่มันควรจะเป็น คงจะเป็นสิ่งที่ผมควรจะทำ... เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมจะทำได้ในตอนนี้

เพื่อ “ผม” เพื่อ “เธอ” และเพื่อ “เขา”

ด้วยความรักและเคารพต่อกันและกันระหว่าง “เรา”... ผมจะต้องทำให้ได้

Wednesday, April 04, 2007

เกณฑ์ทหาร

เมื่อวานซืน ผมตื่นแต่เช้าตรู่ เดินทางไปยังโรงเรียนวัดตลิ่งชัน เพื่อเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ผมไม่ได้เรียน ร.ด. เพราะตอน ม.ปลาย ไปเรียนที่สิงคโปร์ ส่วนตอนเรียนมหาลัยก็ไม่อยากเสียเวลาเรียน ร.ด. ทุกอาทิตย์

ผลก็คือ ผมต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ที่ผ่านมา ช่วงที่เรียนมหาลัย ผมก็ผ่อนผันมาเรื่อยๆ จนปีนี้เรียนจบแล้ว หมดสิทธิ์ผ่อนผัน เลยเข้ารับการตรวจเลือก

.........

ผมไปถึงที่โรงเรียนวัดตลิ่งชันตอนเจ็ดโมงเช้าตามเวลาที่ระบุในหมายเรียก

คนเยอะมากๆ เลยครับ (ผมรู้ที่หลังว่ามีคนมาเข้ารับการเกณฑ์ทหารที่เขตนี้ถึง 1,044 คน) แต่ละคนก็มีพ่อแม่พี่น้องยกขบวนกันมาให้กำลังใจกัน ทำให้บรรยากาศคึกคักมาก

หลังจากเหล่าทหารกองเกินเข้าแถวเคารพธงชาติตอนเจ็ดโมงเสร็จ นายทหารผู้รับผิดชอบการตรวจเลือกก็ชี้แจงขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ให้ฟัง พร้อมทั้งย้ำว่า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้รวดเร็วที่สุด เพราะปีที่แล้วกว่าการเกณฑ์ทหารจะเสร็จสิ้นก็ปาเข้าไปห้าทุ่มกว่า ปีนี้หวังว่าจะเร็วขึ้น (ฟังแล้วท้อเลยครับ)

สรุปง่ายๆ คือ ทหารกองเกินทุกคนต้องรายงานตัวเพื่อตรวจสุขภาพ วัดรอบอก และวัดส่วนสูง โดยทางเจ้าหน้าที่จะเรียกมารายงานตัวทีละแขวง

ขั้นตอนเป็นไปอย่างเชี่องช้า... ผมนั่งรอๆๆ จนประมาณสิบโมงก็ถึงคราวของแขวงของผม

รายงานตัว... แสดงเอกสารให้เจ้าหน้าที่... เข้าไปให้แพทย์ทหารตรวจสุขภาพ (จริงๆคือเรายื่นแขนตรง สบตาหมอ ให้หมอฟังหัวใจประมาณสามวินาที) แล้วก็วัดส่วนสูง วัดรอบอก...

ผมเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ตอนสิบเอ็ดโมงตรง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้รออยู่ในบริเวณโรงเรียน ต้องรอให้ทหารทกองเกินทุกคนจากทุกแขวงผ่านกระบวนการข้างต้นให้หมดก่อน แล้วจะเรียกมารวมกัน...

ผมคาดคะเนเอาว่า ทุกคนน่าจะรายงานตัวและตรวจวัดต่างๆ เสร็จตอน 4-5 โมงเย็น...

ผมก็หาอะไรกินแถวนั้น มีแม่ค้ารถเข็นมาขายอาหารและเครื่องดื่มมากมาย (วันนั้นขายดีมากๆ)...

.........

นั่งรอ ยืนรอ เดินรอ งีบหลับรอ...

อยากบอกว่าตอนรอนี่ไม่ใช่สบายนะครับ อากาศก็ร้อน เก้าอี้ภายในเต๊นท์ก็มีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับจำนวนคน ทำให้แต่ละคนต้องหาที่นั่งของตนเอาเอง ตามฟุตบาท ตามขอบรั้ว ตามม้านั่ง และตามพื้นลานสนามบาสที่พอจะมีเงาต้นไม้กันแดดกันร้อน...

สามโมงก็แล้ว สี่โมงก็แล้ว ห้าโมงก็แล้ว หกโมงก็แล้ว... ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ...

ไปกินข้าวเย็นที่แม่ค้าเจ้าเดิมในซอยข้างๆ โรงเรียน (แต่กับข้าวเปลี่ยนไปแล้วนะ)

ระหว่างกินอยู่ดีๆ ปรากฎว่ามีคนวิ่งตื่นตระหนกออกมาจากท้ายซอย มองไปก็เห็นวัยรุ่น 3-4 คนกำลังรุบอัดวัยรุ่นอีกคนนึงอยู่

ผมกับพ่อรีบลุกออกจากโต๊ะออกมาที่ปากซอย เพราะวัยรุ่นตีกันนี่น่ากลัว เกิดพวกนั้นมีมีดมีปืน แล้วเราดวงซวยอาจโดนลูกหลงเอาได้ง่ายๆ

ระหว่างนั้น มีวัยรุ่นอีก 2-3 คนวิ่งเข้ามาสมทบ ผมเห็นคนนึงคว้าขวดน้ำปลาจากร้านอาหารเตรียมเอาไปเป็นอาวุธ...

ดีว่าเรื่องไม่ได้บานปลาย ทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ไว้ได้...

ผมกับพ่อกลับไปกินข้าวต่อ คุยกับแม่ค้าได้ความว่า มีตีกันทุกปี ปีก่อนมีมีดมีดาบด้วย... ฟังแล้วรู้สึกท้อแท้กับสังคมไทยจริงๆ

ทุ่มนึงผ่านไป สองทุ่ม สามทุ่ม สี่ทุ่ม... ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ...

ผมและคนอีกมากมายก็ได้แต่นั่งรอยืนรอต่อไปโดยปริยาย...

.........


เกือบเที่ยงคืน...

ทหารกองเกินทุกคนผ่านขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่เลยเรียกทุกคนไปนั่งรวมกันที่ลานสนามบาส...

แล้วก็ปล่อยให้เรารอไปอีก โดยบอกว่ากำลังอยู่ระหว่างทำบัญชีอยู่...

เกือบตีหนึ่ง...

นายทหารก็ออกมาประกาศว่า สรุปแล้ว วันนี้มีผู้มาเข้ารับการเกณฑ์ทหาร 1,044 คน มีต้องการเป็นทหารโดยสมัครใจ 100 กว่าคน ซึ่งมากกว่าจำนวนที่เขตนี้รับคือ 70 คน...

ทุกคนปรบมือเฮ... เพราะนั่นแปลว่า 1,044 คนผ่านการเกณฑ์ทหารไปโดยอัตโนมัติ...

กว่าจะรอรับใบ ส.ด.43 เสร็จก็ปาเข้าไปตีหนึ่ง... กลับถึงบ้านเกือบตีสอง... รุ่งขึ้นตื่นเช้าไปทำงาน...

.........

ถามว่าผมได้ประสบการณ์อะไรบ้างจากการเกณฑ์ทหารครั้งนี้

เรื่องแรกเลย ได้เห็นและเข้าใจกระบวนการเกณฑ์ทหาร เข้าใจว่ากระบวนการ "กิน" ของทหารเป็นยังไง เข้าใจว่าทำไมเรื่องเกณฑ์ทหารถึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญแหล่งหนึ่งของเหล่าทหาร...

อีกเรื่องคือ ได้เห็นความเชื่องช้าไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการเกณฑ์ทหาร... ดูเหมือนว่าทหารจะไม่ได้สนใจทหารกองเกินที่มาเกณฑ์ทหารและญาติๆเลย... ไม่สนใจที่จะพัฒนาระบบบริหารจัดการการเกณฑ์ทหารเลย ทั้งๆที่ทำมาทุกปีเป็นงาน routine แท้ๆ...

มาเกณฑ์ทหารแล้ว ผมคิดอยากศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยใช้กรอบเศรษฐศาสตร์การเมือง/สถาบัน ดูว่าทำไมและเพราะอะไรกันแน่ ระบบการเกณฑ์ทหารมันถึงเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น แล้วที่มันเป็นนี่มัน optimal หรือเปล่าสำหรับประเทศไทย... ใครคือคนที่ได้ประโยชน์จากระบบ และมันจะมีวิธีใดไหมที่จะทำให้ระบบมันดีและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้...

เห็นการเกณฑ์ทหารแล้ว ผมอดห่วงอนาคตประเทศชาติไม่ได้...

อยากจะตะโกนดังๆออกไปว่า ถ้างานง่ายๆแค่นี้ยังบริหารจัดการไม่ได้ ก็อย่าไปยุ่งเรื่องบริหารจัดการประเทศเหมือนทุกวันนี้เลยเถอะคร้าบ... คุณทหาร...

Monday, March 19, 2007

สิ่งที่หายไป

คนเรามักจะไม่เห็นคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกระทั่งสิ่งนั้นจากหายไป...

ผมเองไม่เคยเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสันติภาพและความสงบสุข จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แม้ผมจะไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่น แต่ก็รับรู้ความรู้สึกของคนที่นั่นได้

คุณย่าและญาติอีกหลายคนของผมก็อาศัยอยู่ที่สงขลา (พ่อผมเป็นคนที่นั่น) ผมเป็นห่วงพวกเขา และเป็นห่วงทุกๆคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น

ท่ามกลางความหวาดกลัว ทุกคนคงจะกำลังหวนคิดถึงใคร่ครวญหาความสงบสุข...

ขอร่วมไว้อาลัยแด่ทุกคนที่เสียชีวิตมากกว่าสองพันคนจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในสี่จังหวัดภาคใต้ ขอให้ทุกคนมีกำลังใจในการใช้ชีวิต แม้จะต้องเผชิญกับความหวาดกลัวและความตื่นตระหนกทุกวันเวลา ก็ขอให้ระมัดระวังและต่อสู้ต่อไป...

ขอประนามการกระทำอันเลวร้ายของอมนุษย์ที่ไม่รู้จริงๆว่าหัวจิตหัวใจทำด้วยอะไร...

เมื่อหวังพึ่งรัฐบาลและหน่วยงานรัฐไม่ได้... ผมก็ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาลให้ทุกท่านมีพลังในการดำเนินชีวิต... ดลบันดาลให้ความสุขสงบกลับมาสู่ภาคใต้และเมืองไทยอีกครั้ง... โดยเร็วพลัน...