Thursday, November 15, 2007

Why Thai democracy is going nowhere, and what is needed for progress

Thailand's general election is around the corner. Political parties are registering their MP candidates. The race is on, and all the media attention is focused on it.

In my view, however, Thai democracy has seen very little progress, and its future indeed looks bleak.

Why do I think so?

Simply because the upcoming election and the new constitution offer no concrete solution to the fundamental problems in Thai politics.

What are some of these problems in Thai politics?

Well, I believe one of the most important problems is the FACT that elections ultimately do NOT matter in Thai politics.

The evidence is clear: Looking back in the past 50 years, we have witnessed all together 10 military coups. That's 1 coup every 5 year on average. Thus, it is not an exaggeration to say that military coups, not democratic elections, are the dominant form of power transition in Thailand.

One might argue that democracy has begun to establish itself in Thailand in the past 15 years, after the 1992 popular uprising. This argument, however, fails to recognize the obvious counter-evidence: the 2006 military coup.

Now, one might further argue that Thaksin regime was far from being democratic. To many, Thaksin was seen as a de facto dictator, and nothing, not even a coup, was worse than Thaksin.

However, I would contend that solving this political problem through undemocratic means (like staging a military coup) is by no means better than the Thaksin regime. It is definitely not the correct answer to our fundamental problem. Staging a coup is in fact a way to escape, not tackle, the problem. We are all running away from the problem, instead of facing it.

The fact that a democratic government who had come into office through victory in election was removed by a group of military officers confirms the unfortunate truth: democratic elections ultimately do not matter in Thailand.

Election matters only if the winning government is accepted by the Bangkok elites and the educated middle class. This is indeed a sad truth: Thai politics has always been elite-centric - it is the educated urban elites, not the rural mass, who has the right to determine the course of this country.

The underlying problem is that there exists a conflicting view between the urban middle class (most of whom dislike Thaksin and any corrupt government in general) and the rural lower class (most of whom support Thaksin and do not really care about corruption). This conflicting view has been and is still very much present in the Thai society.

Why do these two broad groups differ in their views? Anek Laothammastas explains this point very well in A Tale of Two Democracies. For the benefit of some readers who might not be familiar with this article, I shall briefly summarize Anek's argument below.

Anek argues that "for rural voters, democracy is valued not as an ideal, but as a mechanism to draw greater benefits from the political elite to themselves and their communities. To them, elections are very much local, not national, affairs... They feel obliged to use their votes as repayment to those who have been friendly, helpful, or generous in coping with daily difficulties while bringing progress and prosperity to their community."

Having lived and witnessed local life in a suburban area, I could not agree more with Anek's above analysis. Just picture yourself as a rural villager without the benefit of urban comfort.
Your life depends on your local patron, who might be the village headman or some other local leaders. As a result, you don't care about corruption or government national policies. All you care about is following what your patron asks you to do in return of the favors the patron has provided you with in daily life.

This is why money politics is the norm in rural Thailand. This is why efforts made by the Election Commission or any other agencies to curb vote buying have been unsuccessful. (It's funny to see the EC make the MP candidates "swear" that they won't buy votes. What a naive and shallow way of curbing vote buying.) It is not because of the politicians' bad habit that they buy votes; it is the social structure and patron-client system in the rural areas that give rise to money politics. As long as there is no significant change in this social structure, money politics will always be there.

Now, let's turn to the educated middle class. Anek argues that "To the educated middle class, elections are means of recruiting honest and capable persons to serve as lawmakers and political executives." He further argues that "although the middle class admits that democracy is rule by the people, the people should be knowledgable and public-regardning... voters should transcend personal or local inerests." In other words, the educated middle class expects their government to be relatively "clean" and "competent".

The middle class, therefore, could not stand a notoriously corrupt governments like Chatichai or Thaksin. The government may be popularly elected by millions of voters, but the urban elites and middle class are willing to disregard these votes (justifying themselves by arguing that these votes have been "bought") and support any means, albeit unconstitutional and undemocratic, to overthrow the government. The elites and the middle class think that they have the right to decide on which government should or should not be in the office, and they believe they are doing it for the best interest of the country.

It is because of this gap in perceptions between the middle class and the rural class that causes "frequent interruptions in the process of democratization." It is because of our inability to find a peaceful, democratic and civilized way to bridge this gap that we often need military interventions in politics, such as the military coups in 1991 and 2006.

Comparing the coup in 2006 to the one in 1991, I see that they share a lot of similarity. In both instances, the coups were bloodless. In both instances, the coups were initially welcomed by many educated middle class. In both instances, the main reason for staging the coup was corruption of the government.

It seems to me that we are going nowhere. We are in fact living in the same old repeated cycle.

The upcoming election offers no sign of progress. It will bring back weak coalition government, just like the old days. It will also bring back strong bureaucrats (military and civilian alike), just like in the old days.

It represents a move away from "popular democracy" and a return to "bureucratic polity", I might say. Yes, that same old "bureucratic polity" incapable of meeting the needs ot the mass and effectively managing the country in this fast-changing global environment.

It is true that Thaksin rule has shown that our "popular democracy" or "popular sovereignty" system has some weaknesses, but a return to "bureaucratic polity" is certainly not the correct answer.

What, then, should be the correct answer?

My opinion is that the Thai urban middle class needs to change their way of thinking. It is good that the educated middle class are actively critical of the government. It is also good that we try to monitor the government on its corruption or bad policies These actions indeed are essential elements to democratic progress.

However, I believe we must not compromise our democratic ideals. We must not accept any undemocratic means to solve political problems and conflict. We must keep in mind that undemocratic means is not the answer, as has been proven several times in our political history.
If democracy doesn't function as well as we want it to, we must not destroy it by relying on such a means as a military coup. We must not disregard the voices of the millions of people whose thoughts differ from ours. Rejecting their opinions are indeed equivalent to looking down on them.

Above all, we must get rid of the belief that we have the ABSOLUTE right to determine the course of Thailand, regardless of what others think. We may try to convince others to believe in what we believe in, but we must get rid of the idea that "we are more educated and better informed than some others, and thus we reserve the superior right to determine Thailand's destiny." In other words, we must start to respect other people's different viewpoints, not rejecting them like we did by welcoming the coup in 2006.

I strongly believe that this change in perception of the politically active middle class is the first important and necessary step that we need to take if we wish to see any real and sustainable progress in our society.

Friday, November 09, 2007

(Almost) The Same Old Politics

With a return to my hectic student's life - papers, exams, parties and everything - I have not been writing my blog for a big while. But upon reading a series of political stories from Thailand, I could no longer remain silent.

The leaked National Security Council document. The strict (and, I must say, stupid) election rules announced by the Election Commission. The same old switching and re-switching of parties among politicians. Continued violence in the deep south. And, worst of all, the controversial security bill which has just been passed!

To be honest, witnessing all these developments, I see no bright future for Thailand. And my gut feeling is suggesting that the worst is yet to come.

.........

Let's turn back the clock to Septermber 2006. In the wake of the coup, the junta leaders assured the public that their sole intention for staging the coup was to resolve the conflict, reform the politics and restore democracy as soon as possible.

Many people in Thailand also voiced their support for the coup on various grounds: It would end Thaksin corrupt regime, it would help resolve political conflict and restore stability, it would help "reform" politics, and so on...

How seriously wrong they all were.

1 year, 1 month and 20 days have passed since the coup took place, and what has Thailand achieved?

Political stability? Political reform? Democratic progress? Peace in the south? - Are you serious?
I think the story is more like this: Deepened political division. Stupid constitution. Continued southern violence. Abuse of power by the junta. Same old politicians in the coming election.

And the worst part: an attempt to bring Thai politics back to the same old elite-centric "bureaucratic polity".

Who matters the most in Thai politics? Who makes decisions on how to govern the country?

The answer is the elites! The military and some civilian bureaucratic elites!

Ok, perhaps not just the elites, but also the upper- and middle-class people in Bangkok. I repeat, people in Bangkok.

What about the 50 million rural people? Well, they get to vote! Oh well, how could I forget that they also has the special privilege to witness their elected government overthrown by a group of elites who claim to be "acting for the best interest of the Thai people".

What are some of their ideas of "the best interest of the people"? Well, I guess they include things like putting the junta people in the Board of state enterprises, trying to make sure the People Power Party doesn't win the election, pushing for such a law as the Security Bill.

And, of course, increasing military budget and buying military jets.

"In the best interest of the people" my ass.

Pardon me for the use of inappropriate words. I don't normally like to be rude or scold at people, but given what Thailand has gone through in the past few years, I think many people deserve a slap on their face.

In my opinion, many members of the press, the academia, and civil society leaders who backed the coup in 2006 should stand up and say to themselves that they have been seriously wrong.

By now, I hope they have learned the lesson that although Thaksin was bad, a coup would not do any good to Thailand either.

"Power corrupts. Absolute power corrupts absolutely."

Instead of relying on undemocratic means (such as coup) to resolve political conflict or remove a corrupt government, we all should come together and think of ways to foster the devlopment of democracy in Thailand.

We should stop criticizing democracy about its weaknesses (such as "election is irrelevant because vote-buying is rampant", "the court system and anti-corruption institutions were ineffective").

We should stop using these weaknesses of our democratic system as an excuse for accepting an undemocratic solution to political problems. In other words, let's stop running away from the fundamental problem.

Instead, we must all help MAKE DEMOCRACY FUNCTIONS BETTER in our society. There can be no more excuse for another coup in the future. We must grow up together.

If there is something positive in Thai politics, I believe it's the fact that many people who used to back the junta have now turned their backs on the junta. I believe they have learned that Thailand has become a complex place, with many diverse interests, and the kind of politics we have had will not do any good to our increasingly complex society facing increasingly complex challenges.

We must not rely on the king or the military to intervene every time the country runs into political conflict. That won't tackle the root of the problem, it's as simple as that.

We need to find better ways to resolve our differences peacefully. How do we do that? Like many other changes, I believe this change must start from within.

We need to change our attitudes toward democracy, toward the people. We must treat all Thais as equal: a rural poor person's opinion and vote (whether it has been "bought" or not) should count as one, just like a military elite's vote.

Thailand is going nowhere without this fundamental change in its people's attitudes.

Wednesday, June 20, 2007

My favortie songs

I've not posted any new blog entry for quite a while.

I swear there are things I want to write about... but somehow I don't feel like writing (aka laziness haha...)

But I think I should have an entry posted... so I decide to just put up an entry on the list of my favorite Thai songs.

.........

Ginola's Most Favorites (the Best of the Best):

แค่ได้พบเธอ - POP
"อยากจะพบเจอเพราะเธอทำให้ฉันเพ้อ คิดถึงเธอ"

หยุด - Grooveriders
"หยุด...หยุดชีวิต หยุดกับคนนี้ แม้ว่าใครจะดีสักแค่ไหน"

เจ้าชายนิทรา - ETC
"ข่มตานอนหลับฝันไม่ยอมตื่น ให้รักเรายั่งยืนอยู่ในฝัน"

ย้ำ - Bodyslam
"แค่อยากจะย้ำ อยากจะย้ำจนเธอนั้นมั่นใจ"

ไม่ต้องมีคำบรรยาย - Mr.Team
"ไม่ว่าอะไรมันคือเหตุผลที่ฉันนั้นรักเธอ ให้รู้ว่ารักเธอเท่านั้นพอ"

ขอบคุณที่รักกัน (Acoustic version) - Potato
"สักวันหนึ่ง ฉันอาจต้องล้มลงอีก ใครจะรู้ แต่ถ้าเธอไปด้วยกันอยู่ ก็ไม่หวั่นกลัวเท่าไร"

ทุกนาทีให้เธอ - UHT
"คำว่ารักเธอ คือที่ฉันมี แปลว่าฉันจะอยู่ตรงนี้ใกล้ๆเธอ มีคนๆนี้ คอยเธอตรงนี้ ทุกนาทีที่เธอต้องการ"

.........

Ginola's Almost the Best of the Best:

ถามใจ - Superglue
"เธอลืมผู้ชายคนนี้ได้หรือไร อ้อมกอดที่คุ้นเคยอยู่ เสียงหัวใจที่เคยได้ยิน รอยจูบที่เคยฝากไว้ในใจเธอ"

ชั่วโมงต้องมนต์ - Friday
"อยู่ในชั่วโมงต้องมนต์ ชั่วโมงที่ใจไหวหวั่น"

คำเชยๆ - Big and the Superband
"อาจเป็นว่าเราเข้าใจกันมานาน ผูกพันจนเกินกว่าจะอธิบาย แต่มีบางคำที่เหมาะสม บางอารมณ์อยากจะใช้ วันนี้มีอะไรจะบอก"


กลับมาได้รึเปล่า - 2 Days Ago Kids
"เมื่อก่อนนี้เคยมีใคร คอยปลอบฉันเมื่อเจ็บช้ำมา วันนี้ไม่มีใคร มีแต่ตัวฉันและน้ำตา"

จูบ - Jetset'er
"ด้วยสายตาและสัมผัส ด้วยรักที่เรามีให้กัน โอ้ฉันจะจูบเธอ"

รักที่เพิ่งผ่านพ้นไป - Grooveriders
"ดนตรี... ยังเล่นอยู่ ฟัง... ฉันฟังอยู่ แต่ว่าในใจนั้นเงียบงัน มีแต่เสียงเพลงที่ว่างเปล่า"

รออยู่ตรงนี้ - Hum
"พยายามรู้จัก พยายามทักทายกับเธอ หวังให้เธอได้มองฉันหน่อย"

คิดถึงเธอทุกทีที่อยู่คนเดียว - Calories Blah Blah
"ปลายท้องฟ้ากับแดดรำไร ฉันเหมือน...ใจจะขาด"

Aroma - บี Crescendo
"กลิ่นของความรัก มันยังตรึงอยู่ในหัวใจ"

มุม - Playground
"และถ้าวันนึงเธอเหนื่อยล้าจากเรื่องต่างๆ จนเธอรู้สึกว่าโลกนี้เหมือนกับไม่เหลือใคร โปรดจงรู้เอาไว้ ว่าโลกนี้ยังมีความห่วงใย จากมุมเล็กๆตรงนี้เสมอ"

เหตุเกิดจากความเหงา - Emotion Town
"มีคนเคยบอก หากไม่สูญเสียบางอย่าง ก็ยังไม่รู้คุณค่าสิ่งนั้น"

See Scape - Scrubb
"ออกไปมองน้ำและฟ้าที่กว้างใหญ่ ให้ได้กลิ่นดินที่ลมนั้นพัดเข้ามา"

แฟนเทวดา - Freeplay
"อยากเป็นแฟนกับเทวดา จะได้ไปเป็นนางฟ้าใช่ไหม"

ฤดูที่แตกต่าง - Boyd
"เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง ฟ้าก็จะสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ"

ชายคนหนึ่ง - ปีเตอร์ คอร์ป
"เธอไม่ต้องกังวล เธอไม่ต้องเกรงใจ ความรักฉันที่ฝากไว้ เป็นเรื่องง่ายกว่านั้น"

บอกรักกับดาว - วิเชียร ตันติวิมลพันธุ์
"เพราะไปหลงรักเจ้าดาว เกิดเรื่องราวจนร้อนใจอยากบอกรักกับดาว"

ยอม - POP
"ห้ามไม่ได้แล้ว หัวใจ จะไม่ยอมปล่อยเธอให้ไปจากฉัน"

.........

Ginola's Favorites:

เพียงพอ - Potato, นิดนึงพอ - Friday, จะรักให้เธอลืม - ไอน้ำ, เธอกับฉัน - Love, คนที่ไม่เข้าตา - Calories Blah Blah, Soulmate - Playground, ทุกอย่าง - Scrubb, แค่เธอก็พอ - Grooveriders, มีกันตลอดไป - Amari, บอกให้รู้ว่ารักเธอ - ดัง, นอนกับความเหงา - โรส, ยามเมื่อลมพัดหวน - เจ, รักคนมีเจ้าของ - ไอน้ำ, เล่นของสูง - Big Ass, พื้นที่เล็กๆ - บอย ตรัย, สายลมที่หวังดี - ทราย, สักวันฉันจะดีพอ - Bodyslam, คำถามโง่ๆ - Boyd, ฟ้า - Basher, โปรดส่งใครมารักฉันที - Instinct, , เธอเท่านั้น - เอิ้น พิยะดา, ไม่เคยจะห่างกัน - เอิ้น พิยะดา, รู้ตัวช้า Jo-Pop, ภาพเวลาเดิมๆ - Good September, คืนเหงา - Foggy Groove, ความรักท่วมหัว - Pancake, เรื่องธรรมดา - เจมส์, ให้ท่า - Basher, หนาว - The Strangers, ข้ามรุ่น - เล้าโลม, เธอที่มาพร้อมกับความรัก - The Strangers, ใกล้ - Scrubb, คืนที่ดาวเต็มฟ้า - โมทย์, ลืมไม่เป็น - เอ็ม อรรถพล, ใครสักคน - Paradox, ไม่มีเหตุผล - บอย ตรัย, ตกหลุมรัก - โอ้ เสกสรรค์, เธอคือใคร - ETC, เพราะเธอ - ETC, ไม่อยากให้เธอมีใครมาจีบ - JKI, อยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว - ตุ้ย ธีรภัทร, เพื่อเธอ - I-Zax, เธอร้องไห้เมื่อหน้าฝนและพบใครบางคนเมื่อหน้าหนาว - โตน sofa, คะแนนแห่งชีวิต - เบน ชลาทิศ, คนๆนี้จะไม่ไปจากเธอ - All for Men, ไม่มีใครรู้ - เป๊ก, ไม่กล้า - Emotion Town, ช่างไม่รู้เลย - OST เพื่อนสนิท, ที่แห่งนี้ - POP, ไม่บังเอิญ - กุลวัฒน์, แค่ได้คิดถึง - ญารินดา, เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม - บิลลี่, รักของเธอมีจริงหรือเปล่า - POP ฯลฯ...

.........

I think music is one of the most beautiful and mysterious things in this world.

I mean I'm not at all musically talented - I can't sing or seriously play musical instrument. But I think it really is a wonder how emotionally powerful music can be.

Some of songs are delicately written with fancy lyrics and wonderful melodies. Others are filled with simple lyrics and melodies.

Yet they all can reach the deepest of my souls.

They can make me smile or cry or dance or dream... or even give me some inspirations during bad times...

Let's the music refresh our souls and heal the wounds in our world!

Monday, April 30, 2007

What should we do?

Today, the Bank of Thailand published the latest monthly data of the Thai economy (See the data or report). As far as economic growth is concerned, the figures certainly look so depressing and worrying enough that I decide to postpone my blog on “When I fall in love” and write a blog on Thailand’s economic conditions instead.

The latest economic data strongly suggests that we are indeed in a recession.

Private investment continues to slow down, as reflected by the slower growth of the MPI (Manufacturing Production Index) and the negative year-on-year growth of the PII (Private Investment Index). Private consumption is also very sluggish, with the PCI (Private Consumption Index) exhibiting negative year-on-year growth.

The tourism sector continues to grow, albeit at a slow rate. VAT and corporate income tax collections, both of which are indicators of current economic activities, also exhibit very low and negative growth rates respectively. The only two bright sides of the economy are the low-inflation environment and the export sector, whose growth remains very strong.

If things continue to be as they are right now, this year’s economic growth is expected to be around 4%, lagging behind the growth of most other emerging economies. Moreover, if domestic demand does not start to recover soon, the vulnerability of the economy to external shocks will become increasingly threatening. A slowdown in our major trading partners’ economies will have severe impact on our economic growth. Worst of all, if the price of oil keeps rising, we could end up with a high-inflation and sluggish-growth environment – a difficult situation indeed for economic policymakers.

This may seem overly pessimistic to some observers but it is my personal belief that, when it comes to public policy-making, being reasonably risk-averse and cautious is more beneficial to the society than being overly confident and optimistic.

So, what should we do now to boost growth and avoid serious recession? Macroeconomic-wise, given the latest economic information, the policy choice is clear: expansionary fiscal and monetary policy.

In its next meeting, it is likely that the Monetary Policy Committee will further lower the policy interest rate, quite probably by 50 basis points. However, monetary policy takes a long time to affect the economy and its effectiveness depends on whether the available transmission mechanisms work well or not. So, fiscal policy should play an active and leading role in stimulating the economy this year.

Anyway, these macroeconomic policies are short-run economic stabilizers. The long-term future of the Thai economy is still unclear. The most serious and challenging question we need to address is: how do we increase the competitiveness of Thai firms? After all, long-term economic growth is driven by productivity improvements. And I wonder, what have our governments – past and present - done about this?

I think our beloved country desperately needs a vision and a well-defined strategy of where we want to go from here. Unfortunately, amid all the current political and economic uncertainties and conflicts, I can’t really see how we could practically come up with that vision or strategy. It seems like everyone is trying to survive each day, which is difficult enough, and doesn’t really care what the future lies.

What should we do?

Tuesday, April 24, 2007

เมื่อผม...ตกหลุมรัก!

จั่วหัวไว้แบบนี้ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าผมไปปิ๊งสาวไหนเข้าให้นะครับ

ยังครับ ยังไม่ได้ปิ๊งใครใหม่ในช่วงนี้...

ขอเวลาให้หัวใจได้เว้นวรรคพักร้อนบ้าง

แต่วันก่อนผมไปเจอหนังสือเล่มนึง เขียนโดยผู้หญิงคนหนึ่ง

อ่านแล้วอยากบอกว่า...

แอบปลื้มและตกหลุมรักเธอเข้าอย่างจัง

เธอคือใคร? ใครคือเธอ? ทำไมเธอถึงทำให้ผม (และคงจะอีกหลายๆคนที่ได้อ่านหนังสือของเธอ) ตกหลุมรักเธอได้?

อดใจรอสักพักนะครับ ตอนนี้ยุ่งมากกับหลายๆเรื่อง อาทิตย์หน้าว่างแล้ว จะมาเขียนถึงเธอคนนี้ครับ :)

Monday, April 16, 2007

tag แฉความลับ (ข้อ 4-5)

หลังจากที่ผมได้แฉความลับตัวเองไป 3 ข้อแล้วใน tag แฉความลับ (ข้อ 1-3) วันนี้ขอเขียนต่ออีก 2 ข้อที่เหลือนะครับ

ข้อสี่ ข้อนี้ผมขอตั้งชื่อว่าเรื่อง "ซ้ายๆขวาๆ" ของผม

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าผมจะพูดถึงเรื่อง ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ปรัชญาเศรษฐกิจหรือการเมืองนะครับ

เรื่องที่ผมจะพูดมันไร้สาระกว่านั้นมากๆ ฮ่าๆ...

ผมเป็นคนถนัดขวาโดยกำเนิด ใช้มือขวาเขียนหนังสือ ใช้มือขวาเล่นเทนนิส ปิงปอง ฯลฯ

ตอนประถม สมัยผมเริ่มเล่นฟุตบอลครั้งแรก ผมก็ใช้เท้าขวาเล่นบอล

แต่จำได้ว่าตอน ป.4 ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร แต่อยู่ดีๆ ผมก็เกิดอาการอยากใช้เท้าซ้ายเตะบอลบ้าง

อาจเป็นเพราะเพื่อนผมส่วนใหญ่ถนัดเท้าขวา ผมเลยอยาก "แนว" ด้วยการเป็นนักเตะถนัดซ้าย

ผมเลยลองฝึกเตะบอลด้วยเท้าซ้ายดู

เชื่อหรือไม่ ผมกลายเป็นนักฟุตบอลถนัดซ้ายไปในเวลาไม่ถึงปี

แต่จะว่าไป ผมก็ใช้เท้าซ้ายได้ไม่ดีเท่ากับคนที่ถนัดซ้ายโดยธรรมชาติ

เพราะแม้ผมจะใช้เท้าซ้ายได้ดีกว่าเท้าขวาในการจับบอล จ่ายบอล โยนบอล และยิงบอล แต่ผมไม่สามารถใช้เท้าซ้ายเลี้ยงบอลให้ดีได้

เท้าขวาของผมยังคงใช้การได้ดีกว่าเท้าซ้ายเมื่อพูดถึงการคอนโทรลบอลและเลี้ยงบอล

กลายเป็นว่า ทุกวันนี้เวลาผมเล่นบอล พอได้รับบอล ผมจะเลี้ยงด้วยขวา แล้วล็อกเข้าซ้ายหาจังหวะส่งหรือยิงประตู

แบบนี้ผมพบว่าก็ดีไปอีกแบบ เพราะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะจับทางยากขึ้น เหมือนแบบ "ทำไมไอ้นี่มันเลี้ยงด้วยขวา แล้วไปๆมาๆมันยิงหรือส่งด้วยซ้ายฟะ"

อืม.. ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้แอบไร้สาระ เอาเป็นว่าผมขอสรุปว่าบทเรียนของเรื่องนี้ก็คือ ถึงเราถนัดขวาโดยธรรมชาติ เราก็สามารถฝึกใช้เท้าซ้ายที่ไม่ถนัดให้ดีได้ เพราะฉนั้น ทุกอย่างเป็นไปได้หากเราตั้งใจฝึกฝนนะครับ

.........

อีกเรื่องเกี่ยวกับ "ซ้ายๆขวาๆ" ของผมนั้น เกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนหนึ่งบนใบหน้าครับ

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "หู" ของผมเอง

หูผมไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร มันใช้รับฟังสิ่งต่างๆ ได้ดีเหมือนคนทั่วไป

หูผมไม่ได้กาง ไม่ได้ยาน เป็นพิเศษอะไร และไม่ได้แนบชิดติดข้างใบหน้าเป็นพิเศษแต่อย่างใด

แต่เรื่องของเรื่องคือ หูซ้ายกับหูขวาของผมมันมีขนาดไม่เท่ากันครับ!

ผมเพิ่งจะสังเกตเห็นถึงความไม่เท่ากันนี้เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

คือหูซ้ายของผมมันใหญ่และกางออกมากกว่าหูขวาอย่างค่อนข้างชัดเจน (ถ้าสังเกตดู)

แปลกดีไหมครับ มือ เท้า ตา ขา และแขนของผมมันก็เท่ากันทั้งสองข้าง แล้วทำไมหูมันถึงได้ไม่เท่ากันได้ละเนี่ย...???

ข้อห้า มาถึงข้อสุดท้ายเลยดีกว่า ข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความใฝ่ฝันของผม


ตอนเด็กๆ หรือแม้กระทั่งตอนโต พวกเราทุกคนต่างก็มีความใฝ่ฝัน อยากทำนู่นเป็นนี่ ผมเองก็มีความฝันเช่นกัน

ความฝันหนึ่งของผมคือการเป็นนักฟุตบอลอาชีพค้าแข้งในอังกฤษ

ผมเริ่มเล่นบอลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ ป.4 เล่นบอลกีฬาสีสมัยประถม ตอนเรียนมัธยมที่สิงคโปร์ก็เล่นบอลให้หอพัก เรียนที่ธรรมศาสตร์ก็เล่นให้บีอี

ตอนไปแลกเปลี่ยนที่ UC Davis ก็ไปเล่นที่นั่น (จำได้ว่ามีวันนึงที่ Davis มีเด็กจีนเตะบอลกันสิบกว่าคน ผมก็ไป "เนียน" เล่นด้วย ทั้งๆที่พวกเขาพูดภาษาจีนกันหมด เวลามันพูดกับผมผมก็พยักหน้าเออออไปเรื่อยทั้งที่ไม่เข้าใจที่มันพูดสักอย่าง แต่ก็ใช้ภาษาฟุตบอลสื่อสารกันพอได้ ฮ่าๆ)

ตอนนี้ทำงานที่แบงก์ชาติก็เล่นบอลอาทิตย์ละครั้งตอนเย็น (ที่แบงก์มีคนเตะบอลกันทุกวันตอนเย็นครับ) แล้วก็ทุกวันอาทิตย์ก็นัดเตะบอลกับเพื่อนๆที่บีอี

การเล่นฟุตบอลจึงเป็นกิจกรรมที่ผมรักมากถึงมากที่สุด เวลามีความสุข ผมก็อยากเล่นบอล เวลาเครียดๆหรือเสียใจอะไร ผมก็อยากเล่นบอล มันทำให้ผมลืมความเครียดหรือความเศร้าได้ดีมากๆ

แล้วเวลาอยากเล่น แต่มีอะไรบางอย่างทำให้ไม่ได้เล่น (เช่น ฝนตก หรือหาเพื่อนเล่นไม่ได้) ผมจะหงุดหงิดเอามากๆ

ด้วยเหตุนี้ ผมถึงอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพเล่นให้กับสโมสรที่ผมรักคือ ท็อตแน่ม ฮอทสเปอร์ อยากเล่นให้ทีมชาติไทย พอเลิกเล่นก็เป็นโค้ชต่อ แล้วก็รับจ็อบเป็นผู้บรรยายฟุตบอลด้วย และถ้าให้ดีอยากเป็นโค้ชทีมชาติไทยที่สามารถพาทีมไปบอลโลกได้สำเร็จ

ผมแอบเชื่อลึกๆในใจว่า ถ้าผมมีโอกาสได้ฝึกหัดฟุตบอลกับสโมสรที่อังกฤษตั้งแต่ตอนเป็นเยาวชน ผมจะสามารถทำฝันนี้ให้เป็นจริงได้

แต่ชีวิตจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นน่ะสิครับ หุหุ

อีกความฝันนึงของผม ต้องย้อนไปตอนสมัยเรียน ม.ต้น ครับ

ตอนนั้น ผมชอบเรียนวิทยาศาสตร์มาก ผมเลยฝันอยากเป็นครูมัธยมสอนวิทยาศาสตร์ จำได้ว่าผมจินตนาการอยากเป็นครูที่มีรูปแบบเทคนิคการสอนที่แปลกๆ สนุกๆ ไม่น่าเบื่อ อยากพาเด็กไปเรียนนอกห้องเรียน และอยากเป็นครูที่นักเรียนอยากเรียนด้วย

แต่พอโตขึ้น ความฝันนี้ก็เลือนหายไป แต่ก็ไม่ได้หายไปสักทีเดียว


เพราะผมยังชอบสอนและอยากสอนหนังสืออยู่ไม่เปลี่ยน

ย้อนไปตอนปีหนึ่งสมัยเรียนที่ธรรมศาสตร์ วิชาแรกที่ผมเรียนและชอบมากคือ Microeconomics

ตอนนั้นผมและเพื่อนๆ จะนัดกันติวอยู่บ่อยๆ โดยเพื่อนๆจะขอให้ผมช่วยเป็นติวเตอร์ให้ ซึ่งผมก็รับเป็นติวเตอร์ด้วยความยินดียิ่ง

เรามักจะนัดติวกันไปเปิดห้องติวกันที่ชั้น U3 ของหอสมุดปรีดี ห้องมันก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรแต่เราก็อัดๆกันเข้าไปกันได้ นั่งเบียดๆกันได้เป็นสิบๆคน (บรรยากาศอบอุ่นมาก)

ผมต้องคอยซื้อปากกาไวท์บอร์ดติดไว้ (ต้องมีอย่างน้อยสองสี เพราะการสอนเสดสาดต้องมีกราฟเยอะ ถ้าใช้ปากกาสีเดียวจะงงเอาได้ง่ายๆ) ส่วนเพื่อนๆก็จะเตรียมทิชชูไว้สำหรับลบกระดานในกรณีที่ไม่มีแปรงลบ

การที่ผมเป็นติวเตอร์ ไม่ได้แปลว่าผมต้องรู้มากและเก่งกว่าเพื่อนๆในเนื้อหาวิชาหรอกนะครับ มีบ่อยครั้งไปที่ผมเจอเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ และต้องอาศัยเพื่อนๆคนอื่นช่วยอธิบาย

สิ่งสำคัญของการเป็นติวเตอร์คือการสังเคราะห์เนื้อหาที่เรียนให้ดี แล้วถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ทำให้คนเรียนรู้สึกสนใจและมีทัศนคติที่ดีในเรื่องที่เรียน ให้เขามีพื้นฐานที่ดีเพื่อไปต่อยอดได้ด้วยตัวเองต่อไป...


หลังจากติววิชา Micro ผมก็เปิดติววิชาอื่นมาเรื่อยๆ ทั้งที่มหาลัยและนัดไปติวกันที่บ้านเพื่อน

ผมเคยติววิชาแคลคูลัสให้น้องๆที่จะสอบเข้าบีอี รู้สึกดีใจและตื้นตันใจมากๆตอนที่ติวจบแล้วมีน้องเดินเข้ามาบอกว่า "พี่ๆ ขอบคุณมากเลย ผมไม่เคยเข้าใจว่าแคลคูลัสคืออะไร ไม่เข้าใจว่า diff คืออะไร เพิ่งจะเข้าใจก็วันนี้แหละพี่"

แต่ถ้าถามว่าน้องคนนั้นสอบได้หรือเปล่า อันนี้ผมไม่รู้จริงๆ (ฮา)

นอกจากนี้ ผมก็เคยสอนภาษาอังกฤษให้น้อง ม.ต้น และ ม.ปลาย ทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบหลายๆคน ซึ่งผมก็มีความสุขจากการสอนอย่างมาก

แต่การติวที่ผมประทับใจที่สุด ต้องยกให้การติววิชา EE460 Thai Economy ซึ่ง อ.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนครับ

วิชานี้ ขึ้นชื่อลือชาว่าหิน ยิ่งเมื่อได้อาจารย์คุณภาพคับแก้วอย่าง อ.นิพนธ์ เป็นคนสอนด้วยแล้ว ความหินยิ่งเพิ่มขึ้นแบบ exponential

เป็นวิชาที่มีเพื่อนๆ request ขอให้เปิดติวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เลยครับ

ตอนก่อนสอบ mid-term ผมก็เปิดติวใหญ่หนึ่งครั้ง ซึ่งตอนนั้นจำได้ว่าไม่สามารถหาจองห้องเพื่อติวได้ สุดท้ายเลยลงเอยด้วยการติวที่ "คอมม่อน" (บริเวณใต้คณะเศรษฐศาสตร์)

เพื่อนผมไปลากกระดานไวท์บอร์ดมาจากห้องกิจกรรมนักศึกษามาตั้งไว้ด้านหลังคอมม่อน (หลังกระดานเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา) แล้วก็จัดแจงเคลื่อนย้ายโต๊ะและม้านั่งให้เหมาะสมแก่การนั่งฟังการติว

ส่วนผมก็กะว่าจะจับปากกาไวท์บอร์ดแล้วติวปากเปล่าแบบ open air อยู่ตรงนั้น

แต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ มาฟังกันเกินคาดครับ มากัน 30-40 คน และด้วยความที่บริเวณนั้นเป็น open air ทำให้หลายคนไม่ได้ยินในสิ่งที่ผมพูด

เพื่อนผมเลยอุตส่าห์ไปหาโทรโข่งมาให้...

ผมก็ยืนติวตรงนั้น มือซ้ายถือโทรโข่ง (โทรโข่งนะครับ ไม่ใช่เบาๆเหมือนไมโครโฟน) มือขวาจับปากกาเขียนไวท์บอร์ด ปากก็พูดๆไป... เป็นเวลาเกือบสี่ชั่วโมง...

ระหว่างติวก็ต้องมีการพักบ้าง เพื่อนๆก็ซื้อน้ำซื้อขนมมาเสิร์ฟอยู่เรื่อย... บางทีคุณป้าร้านขนมก็จะเอาขนมเอาน้ำมาให้แบบจะไม่ยอมคิดตังค์ แล้วก็มักจะถามผมบ่อยๆว่า "เอก... เอกจบแล้วจะมาเป็นอาจารย์รึเปล่า ป้าว่าเอกเหมาะมากเลยนะ"

วันนั้นพอติวเสร็จ ผมแทบจะล้มนอนตรงนั้นเลยครับ เป็นการติวที่เหนื่อยที่สุด เมื่อยที่สุด (ทั้งแขนและขา) แต่ก็ประทับใจและอิ่มเอมใจที่สุดเช่นกัน...

พอตอนใกล้สอบ final ผมก็เปิดติวอีกครั้ง คราวนี้กะว่าจะติวกันกลุ่มเล็กๆ เลยนัดแนะกันว่าจะไปติวกัน 6-7 คนที่บ้านเพื่อนสนิทคนนึงแถวรามอินทรา

แต่ก่อนถึงวันนัดหนึ่งวัน ปรากฏว่าเพื่อนๆคนอื่นมากมายเริ่มรู้ว่าจะมีการเปิดติว ข่าวแพร่สะพัดอย่างรวดเร็วดังตลาดเสรีที่มี perfect information...

ถึงวันนัดติวจริงๆ ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ มาที่บ้านเพื่อนผมที่รามอินทรากว่า 40 คน!

ดีที่บ้านเพื่อนคนนี้มันกว้างขวาง สามารถรองรับคนจำนวนนี้ได้ แม้บางคนจะต้องแชร์เก้าอี้กัน บางคนจะต้องนั่งพื้น แต่ก็พอนั่งกันได้

วันนั้นติวกันตั้งแต่ประมาณ 9 โมงกว่า พอตอนเที่ยงก็พักกินข้าวกัน ซึ่งคุณแม่ของเพื่อนผมก็สั่งอาหารตามสั่งร้านแถวบ้านใส่กล่องโฟมมาเลี้ยงทุกคน

มีทั้งข้าวกระเพรา ข้าวหมูทอด ข้าวผัด ฯลฯ พวกเรานั่งกินข้าวกล่องกันเป็นวง เป็นกลุ่มก้อน บรรยากาศดูอบอุ่นน่ารัก เหมือนมาออกค่ายอยู่กลายๆ

พอตอนบ่ายก็ติวต่อจนเย็น จึงแยกย้ายกลับบ้าน...

เป็นอีกวันที่เหนื่อยมากๆ แต่ก็ดีใจมากเช่นกัน

มันเหมือนเป็นความอิ่มเอิบใจที่ได้ทบทวนความรู้ให้กับเพื่อนๆ และก็อย่างที่บอกว่าผมไม่ได้รู้มากไปกว่าคนอื่น มันเหมือนพวกเรามาช่วยกันเรียน มา discuss กัน โดยที่ผมเป็นเหมือนคนปูพื้นฐานและคนนำอภิปรายแค่นั้นเอง

บางเรื่องที่ผมติวก็มีคนแย้งว่ามันผิดนะ เค้าเข้าใจอีกแบบหนึ่ง แล้วเราก็ถกกัน บางเรื่องที่ผมไม่แน่ใจไม่เข้าใจ ก็จะมีเพื่อนคนอื่นช่วยอธิบายแทน ผมก็ได้เรียนรู้จากเขาไปด้วย

ส่วนใครที่รู้น้อย อ่านหนังสือมาน้อย ก็จะได้ความรู้พื้นฐานของเนื้อหาวิชาไป แล้วก็ไปอ่านต่อยอดเองได้

ทั้งหมดนี้ ทำให้ผมรู้สึกว่าการเป็นครูเป็นอาจารย์นั้น เป็นงานที่ช่วยสร้างคุณค่าให้แก่คนอื่นอย่างเห็นได้ชัด (แม้ความจริงจะปรากฏว่า ในวิชา EE460 ที่ผมติวนั้น มีคนได้ A อยู่ 3-4 คน ซึ่งทุกคนที่ได้ A นั้น เป็นคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้มาติวกับผมก่อนสอบ final ส่วนคนที่มาติวกับผมนั้นไม่มีใครได้ A เลย... เอ.. มันแปลว่าอะไรเนี่ย... :) แต่ถึงผลจะออกมาแบบนั้น ในเทอมต่อมาผมก็ยังมีโอกาสได้ติวให้เพื่อนๆที่เรียนวิชานี้ในเทอมสองด้วย)

อย่างไรก็ดี ผมก็หวังว่า ชีวิตนี้ยังไงก็ขอเอาดีให้ได้สักเรื่องเพื่อที่จะเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้สักวิชา จะเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พาร์ตไทม์ก็สุดแล้วแต่...

เป็นอาจารย์ที่ทำให้ลูกศิษย์เกิดความสนใจ เกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาต่อยอด สร้างสรรค์ผลงานให้เกิดคุณค่าแก่ตัวเขาและแก่สังคม

และผมคงจะดีใจและมีความสุขมาก หากวันนึงผมได้เห็นลูกศิษย์ของผมประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขามุ่งหวังแล้วเดินกลับมาบอกผมว่า "ขอบคุณมากครับ/ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์"

Monday, April 09, 2007

สายฝนที่โปรยปราย

ฝนกำลังตกลงมาอย่างหนัก หลังจากที่อากาศในกรุงเทพร้อนจัดมาหลายวัน

ผมเลี้ยวรถฮอนด้าซีวิคคู่ใจเข้าสู่ตลาด บอง มาเช (Bon Mache) ย่านประชานิเวศน์ ในรถมีพ่อและแม่ร่วมโดยสารมาด้วย

พ่อ แม่ และน้องชายของผม กำลังจะไปบินไปเมืองจีนในวันพรุ่งนี้ เพราะแม่จะต้องไปประจำราชการที่นั่นเป็นเวลาหลายปี

วันนี้ ผมพาแม่มาเอาชุดที่ตัดไว้ที่ร้าน “อัญชัน” ในตลาด บอง มาเช แห่งนี้

ตลาด บอง มาเช แห่งนี้เป็นตลาดสไตล์ Community Marketplace ที่นี่มีทะเลสาบสวยตั้งอยู่ตรงกลาง สองด้านของทะเลสาบเป็นที่ตั้งของร้านขายอาหารคาวหวาน เครื่องดื่ม ผักผลไม้ และขนมของกินคุณภาพดีอีกมากมาย เราสามารถซื้อหาอาหารมานั่งทานพร้อมกินลมชมวิวริมทะเลสาบได้อย่างแสนสบาย

อีกสองด้านของทะเลสาบถูกออกแบบเป็นตึกสองชั้น มีระเบียงทางเดินแบบ open air โดยสองข้างทางมีร้านค้าขายของสารพัดชนิดตั้งเรียงรายอยู่ ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับแปลกๆ ของเก่า ของตกแต่งบ้าน มีสาขาธนาคาร ร้านนวดแผนไทย ฯลฯ

ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงหลังสี่โมงเย็น ทางตลาดยังได้จัดให้มีเวทีแสดงเพลง Jazz เพราะๆ ให้ฟังกันสบายๆริมทะเลสาบอีกด้วย

แม้จะไม่มีโอกาสได้มาเยือนที่นี่บ่อยนัก ตลาด บอง มาเช ก็นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในวันหยุดที่ผมชอบมากแห่งนี้

แต่ทุกครั้งที่ผมมาที่นี่ ลมฟ้าอากาศจะสดใส ไม่เคยมีสักครั้งที่จะมีฝนตกลงมาหนักเหมือนวันนี้

.........

พ่อ แม่ และผมไปถึงที่นั่นตอนบ่ายโมงกว่า พวกเราหิวกันมาก เลยตรงไปที่โซนขายอาหารก่อนเป็นอันดับแรก

หลังจากพ่อผมเลือกหาโต๊ะนั่งได้ตัวหนึ่งที่ริมทะเลสาบ พ่อและแม่ก็เดินออกไปหาซื้ออาหาร

ส่วนตัวผมก็นั่งลงที่ตรงนั้น สายตาผมเหม่อมองจ้องจดไปที่โต๊ะสีขาวตัวหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ไกลนัก โต๊ะตัวนั้นมีเก้าอี้พลาสติกสีขาวสี่ตัวล้อมรอบ

วันหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้... “ผม” และ “เธอ” เคยนั่งอยู่ที่โต๊ะตัวนั้น...

ท่ามกลางสายฝนที่ยังคงตกลงมาอย่างหนัก ใจผมเริ่มล่องลอยออกไป... ลอยไป... ลอยไป... ลอยกลับไปยังอดีตที่ไม่เคยเลือนหายไป...

อดีต... ที่คงไม่มีวันหวนกลับคืนมา...

.........

ที่นี่ในวันนั้นแตกต่างจากที่นี่ในวันนี้...

วันนั้น เป็นวันที่อากาศสดใส ไม่มีพายุฝนเช่นวันนี้

วันนั้น ความรู้สึกของผมไม่เหมือนในวันนี้

ความรู้สึกของเธอก็เช่นกัน... วันนั้น มันแตกต่างจากในวันนี้

วันนั้น ผมไม่เห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งที่ผมควรจะเห็น... วันนี้ ผมเพิ่งจะมาเห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งนั้น

วันนั้น ผมมีโอกาส แต่เลือกที่จะไม่ไขว่คว้ามัน... วันนี้ ผมเฝ้ามองหาโอกาสนั้น แต่มันไม่มีอีกแล้ว

.........

ฝนตกหนักขึ้นกว่าเดิม...

ผมนั่งคิดถึงภาพเหตุการณ์ในวันนั้น พร้อมกับฮัมเพลง “รักที่เพิ่งผ่านพ้นไป” ของ Groove Rider แข่งกับเสียงสายฝนที่ตกกระทบพื้น...

“เคยนั่งตรงนี้ เก้าอี้ตัวนี้ อยู่ข้างๆเธอ
เป็นที่ประจำ ที่เธอและฉัน จะนัดกันเสมอ
แต่วันนี้ ที่เดิมตรงนี้ ที่ฉันได้เจอ
ทุกอย่างคงเดิม บรรยากาศเดิมๆ แต่ไม่มีเธอ...”

“ดนตรี... นั้นเล่นอยู่...
ฟัง... ฉันฟังอยู่...
แต่ว่าในใจนั้นเงียบงัน
มีแต่เสียงเพลงที่ว่างเปล่า
จบลงแล้วความรักของเรา
ไม่มีเขาเคียงข้างอีกแล้ว ไม่มีคืนวันที่สดใส
ดื่มให้ตัวเองอีกที กับรักที่เพิ่งผ่านพันไป...”

ไม่รู้ทำไม สายฝนถึงทำให้ผมรู้สึกหนาบเหน็บไปถึงขั้วหัวใจได้เช่นนี้

ไม่รู้ทำไม หัวใจผมถึงได้สั่นไหว พร้อมๆกับน้ำตาที่ไหลซึมออกมา...

.........

สายฝนเริ่มโปรยปรายลง...

แปลก – ทั้งที่น้ำตายังคงไหลซึม ผมกลับอมยิ้มได้

ผมยังคงใคร่ครวญคิดถึงภาพในวันนั้น...

ความรู้สึกอบอุ่นสุขใจพัดผ่านเข้ามาโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่ความหม่นหมองและอ่อนไหวในใจก็ยังคงอยู่

เกิดเป็นความรู้สึกที่บอกไม่ถูก... ไม่รู้ว่าดีหรือร้าย ไม่รู้ว่าดีใจหรือเสียใจ ไม่รู้ว่าสุขหรือทุกข์

เป็นอารมณ์ผสมผสาน คลับคล้ายกับบรรยากาศของสายฝนที่กำลังโปรยปราย...

สายฝนที่โปรยปรายลงมา... นำความอึมครึมหม่นหมองมาให้... แต่พร้อมกันนั้น มันก็นำความสดชื่นเย็นสบายมาให้หัวใจผมเช่นกัน

.........

ฝนหยุดแล้ว...

ไม่มีแสงแดดแผดส่องอย่างที่หวัง ฟ้าหลังฝนยังคงถูกปิดบังด้วยมวลเมฆ

บรรยากาศยังคงอึมครึม แต่ความเย็นฉ่ำสดชื่นยังคงอยู่

น้ำตาไม่ได้เล็ดไหลออกมาแล้ว...

ไม่มีเสียงหัวเราะหรือความสุขที่อยากมี ความหม่นหมองยังคงปกคลุมจิตใจของผม

หัวใจของผมยังคงอึมครึม แต่ถึงกระนั้น ความอบอุ่นอิ่มใจก็ยังไม่ได้หายไปไหนเลย

.........

วันเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน อากาศเปลี่ยน คนเปลี่ยน

“เธอ” เปลี่ยน... “ผม” ก็เปลี่ยน

วันนี้ “อะไรๆ” เปลี่ยนแปลงไปมากมาย

แต่ทั้งๆที่รู้ ว่าควรจะยอมรับและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงนั้น บางครั้ง ผมก็ห้ามใจไม่ได้...

บางครั้ง ผมยังคงยึดติดและหวนคิดถึงภาพเหตุการณ์แต่ละฉากแต่ละตอนในช่วงเวลาก่อนที่ “อะไรๆ” มันจะเปลี่ยนไป...

เมื่อหวนคิดถึงภาพเหล่านั้น...

บางที พายุฝนก็พัดเข้ามาถล่มให้หัวใจรู้สึกทรมานเกินทน

บางที สายฝนโปรยปรายและฟ้าหลังฝนก็เข้ามาสร้างความสดชื่นปนขมขื่นให้หัวใจ

จะมีไหมวันไหนมั้ย ที่ผมจะหวนคิดถึงเรื่องราวในอดีต โดยที่หัวใจไม่ต้องเผชิญกับสายฝน... ให้ท้องฟ้าในหัวใจผมสดใสไม่อึมครึม

แต่จะว่าไปแล้ว ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าความสดใสที่ปราศจากสายฝนจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ผมคิดถึงวันเวลาที่ผ่านมา แต่ผมไม่ได้อยากให้วันเวลาเหล่านั้นหวนกลับมา

ผมแค่อยากได้ “โอกาส” ที่จะทำให้วันนี้ดีเหมือน (หรือดีกว่า) วันนั้น

แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็คิดว่าผมไม่ควรได้รับ “โอกาส” ที่ผมใฝ่หานั้นเสียทีเดียวนัก

สรุปแล้ว ผมยังคงไม่แน่ใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปดี

ผมไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรต่อไป ผมไม่รู้ว่าจะจบเรื่องนี้ยังไง ผมไม่รู้จริงๆ

อาจบางที - ไม่รู้ดีหรือไม่ - ผมควรจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่มัน “ควรจะ” เป็น ตามความรู้สึก ตามสภาพการณ์ ตามโชคชะตาพรหมลิขิต ตามทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง...

แม้มันจะยากเย็นและเจ็บปวด แต่การปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามที่มันควรจะเป็น คงจะเป็นสิ่งที่ผมควรจะทำ... เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมจะทำได้ในตอนนี้

เพื่อ “ผม” เพื่อ “เธอ” และเพื่อ “เขา”

ด้วยความรักและเคารพต่อกันและกันระหว่าง “เรา”... ผมจะต้องทำให้ได้

Wednesday, April 04, 2007

เกณฑ์ทหาร

เมื่อวานซืน ผมตื่นแต่เช้าตรู่ เดินทางไปยังโรงเรียนวัดตลิ่งชัน เพื่อเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ผมไม่ได้เรียน ร.ด. เพราะตอน ม.ปลาย ไปเรียนที่สิงคโปร์ ส่วนตอนเรียนมหาลัยก็ไม่อยากเสียเวลาเรียน ร.ด. ทุกอาทิตย์

ผลก็คือ ผมต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ที่ผ่านมา ช่วงที่เรียนมหาลัย ผมก็ผ่อนผันมาเรื่อยๆ จนปีนี้เรียนจบแล้ว หมดสิทธิ์ผ่อนผัน เลยเข้ารับการตรวจเลือก

.........

ผมไปถึงที่โรงเรียนวัดตลิ่งชันตอนเจ็ดโมงเช้าตามเวลาที่ระบุในหมายเรียก

คนเยอะมากๆ เลยครับ (ผมรู้ที่หลังว่ามีคนมาเข้ารับการเกณฑ์ทหารที่เขตนี้ถึง 1,044 คน) แต่ละคนก็มีพ่อแม่พี่น้องยกขบวนกันมาให้กำลังใจกัน ทำให้บรรยากาศคึกคักมาก

หลังจากเหล่าทหารกองเกินเข้าแถวเคารพธงชาติตอนเจ็ดโมงเสร็จ นายทหารผู้รับผิดชอบการตรวจเลือกก็ชี้แจงขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ให้ฟัง พร้อมทั้งย้ำว่า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้รวดเร็วที่สุด เพราะปีที่แล้วกว่าการเกณฑ์ทหารจะเสร็จสิ้นก็ปาเข้าไปห้าทุ่มกว่า ปีนี้หวังว่าจะเร็วขึ้น (ฟังแล้วท้อเลยครับ)

สรุปง่ายๆ คือ ทหารกองเกินทุกคนต้องรายงานตัวเพื่อตรวจสุขภาพ วัดรอบอก และวัดส่วนสูง โดยทางเจ้าหน้าที่จะเรียกมารายงานตัวทีละแขวง

ขั้นตอนเป็นไปอย่างเชี่องช้า... ผมนั่งรอๆๆ จนประมาณสิบโมงก็ถึงคราวของแขวงของผม

รายงานตัว... แสดงเอกสารให้เจ้าหน้าที่... เข้าไปให้แพทย์ทหารตรวจสุขภาพ (จริงๆคือเรายื่นแขนตรง สบตาหมอ ให้หมอฟังหัวใจประมาณสามวินาที) แล้วก็วัดส่วนสูง วัดรอบอก...

ผมเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ตอนสิบเอ็ดโมงตรง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้รออยู่ในบริเวณโรงเรียน ต้องรอให้ทหารทกองเกินทุกคนจากทุกแขวงผ่านกระบวนการข้างต้นให้หมดก่อน แล้วจะเรียกมารวมกัน...

ผมคาดคะเนเอาว่า ทุกคนน่าจะรายงานตัวและตรวจวัดต่างๆ เสร็จตอน 4-5 โมงเย็น...

ผมก็หาอะไรกินแถวนั้น มีแม่ค้ารถเข็นมาขายอาหารและเครื่องดื่มมากมาย (วันนั้นขายดีมากๆ)...

.........

นั่งรอ ยืนรอ เดินรอ งีบหลับรอ...

อยากบอกว่าตอนรอนี่ไม่ใช่สบายนะครับ อากาศก็ร้อน เก้าอี้ภายในเต๊นท์ก็มีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับจำนวนคน ทำให้แต่ละคนต้องหาที่นั่งของตนเอาเอง ตามฟุตบาท ตามขอบรั้ว ตามม้านั่ง และตามพื้นลานสนามบาสที่พอจะมีเงาต้นไม้กันแดดกันร้อน...

สามโมงก็แล้ว สี่โมงก็แล้ว ห้าโมงก็แล้ว หกโมงก็แล้ว... ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ...

ไปกินข้าวเย็นที่แม่ค้าเจ้าเดิมในซอยข้างๆ โรงเรียน (แต่กับข้าวเปลี่ยนไปแล้วนะ)

ระหว่างกินอยู่ดีๆ ปรากฎว่ามีคนวิ่งตื่นตระหนกออกมาจากท้ายซอย มองไปก็เห็นวัยรุ่น 3-4 คนกำลังรุบอัดวัยรุ่นอีกคนนึงอยู่

ผมกับพ่อรีบลุกออกจากโต๊ะออกมาที่ปากซอย เพราะวัยรุ่นตีกันนี่น่ากลัว เกิดพวกนั้นมีมีดมีปืน แล้วเราดวงซวยอาจโดนลูกหลงเอาได้ง่ายๆ

ระหว่างนั้น มีวัยรุ่นอีก 2-3 คนวิ่งเข้ามาสมทบ ผมเห็นคนนึงคว้าขวดน้ำปลาจากร้านอาหารเตรียมเอาไปเป็นอาวุธ...

ดีว่าเรื่องไม่ได้บานปลาย ทหารเข้ามาควบคุมสถานการณ์ไว้ได้...

ผมกับพ่อกลับไปกินข้าวต่อ คุยกับแม่ค้าได้ความว่า มีตีกันทุกปี ปีก่อนมีมีดมีดาบด้วย... ฟังแล้วรู้สึกท้อแท้กับสังคมไทยจริงๆ

ทุ่มนึงผ่านไป สองทุ่ม สามทุ่ม สี่ทุ่ม... ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ...

ผมและคนอีกมากมายก็ได้แต่นั่งรอยืนรอต่อไปโดยปริยาย...

.........


เกือบเที่ยงคืน...

ทหารกองเกินทุกคนผ่านขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่เลยเรียกทุกคนไปนั่งรวมกันที่ลานสนามบาส...

แล้วก็ปล่อยให้เรารอไปอีก โดยบอกว่ากำลังอยู่ระหว่างทำบัญชีอยู่...

เกือบตีหนึ่ง...

นายทหารก็ออกมาประกาศว่า สรุปแล้ว วันนี้มีผู้มาเข้ารับการเกณฑ์ทหาร 1,044 คน มีต้องการเป็นทหารโดยสมัครใจ 100 กว่าคน ซึ่งมากกว่าจำนวนที่เขตนี้รับคือ 70 คน...

ทุกคนปรบมือเฮ... เพราะนั่นแปลว่า 1,044 คนผ่านการเกณฑ์ทหารไปโดยอัตโนมัติ...

กว่าจะรอรับใบ ส.ด.43 เสร็จก็ปาเข้าไปตีหนึ่ง... กลับถึงบ้านเกือบตีสอง... รุ่งขึ้นตื่นเช้าไปทำงาน...

.........

ถามว่าผมได้ประสบการณ์อะไรบ้างจากการเกณฑ์ทหารครั้งนี้

เรื่องแรกเลย ได้เห็นและเข้าใจกระบวนการเกณฑ์ทหาร เข้าใจว่ากระบวนการ "กิน" ของทหารเป็นยังไง เข้าใจว่าทำไมเรื่องเกณฑ์ทหารถึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญแหล่งหนึ่งของเหล่าทหาร...

อีกเรื่องคือ ได้เห็นความเชื่องช้าไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการเกณฑ์ทหาร... ดูเหมือนว่าทหารจะไม่ได้สนใจทหารกองเกินที่มาเกณฑ์ทหารและญาติๆเลย... ไม่สนใจที่จะพัฒนาระบบบริหารจัดการการเกณฑ์ทหารเลย ทั้งๆที่ทำมาทุกปีเป็นงาน routine แท้ๆ...

มาเกณฑ์ทหารแล้ว ผมคิดอยากศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยใช้กรอบเศรษฐศาสตร์การเมือง/สถาบัน ดูว่าทำไมและเพราะอะไรกันแน่ ระบบการเกณฑ์ทหารมันถึงเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น แล้วที่มันเป็นนี่มัน optimal หรือเปล่าสำหรับประเทศไทย... ใครคือคนที่ได้ประโยชน์จากระบบ และมันจะมีวิธีใดไหมที่จะทำให้ระบบมันดีและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้...

เห็นการเกณฑ์ทหารแล้ว ผมอดห่วงอนาคตประเทศชาติไม่ได้...

อยากจะตะโกนดังๆออกไปว่า ถ้างานง่ายๆแค่นี้ยังบริหารจัดการไม่ได้ ก็อย่าไปยุ่งเรื่องบริหารจัดการประเทศเหมือนทุกวันนี้เลยเถอะคร้าบ... คุณทหาร...

Monday, March 19, 2007

สิ่งที่หายไป

คนเรามักจะไม่เห็นคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกระทั่งสิ่งนั้นจากหายไป...

ผมเองไม่เคยเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสันติภาพและความสงบสุข จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แม้ผมจะไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่น แต่ก็รับรู้ความรู้สึกของคนที่นั่นได้

คุณย่าและญาติอีกหลายคนของผมก็อาศัยอยู่ที่สงขลา (พ่อผมเป็นคนที่นั่น) ผมเป็นห่วงพวกเขา และเป็นห่วงทุกๆคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น

ท่ามกลางความหวาดกลัว ทุกคนคงจะกำลังหวนคิดถึงใคร่ครวญหาความสงบสุข...

ขอร่วมไว้อาลัยแด่ทุกคนที่เสียชีวิตมากกว่าสองพันคนจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในสี่จังหวัดภาคใต้ ขอให้ทุกคนมีกำลังใจในการใช้ชีวิต แม้จะต้องเผชิญกับความหวาดกลัวและความตื่นตระหนกทุกวันเวลา ก็ขอให้ระมัดระวังและต่อสู้ต่อไป...

ขอประนามการกระทำอันเลวร้ายของอมนุษย์ที่ไม่รู้จริงๆว่าหัวจิตหัวใจทำด้วยอะไร...

เมื่อหวังพึ่งรัฐบาลและหน่วยงานรัฐไม่ได้... ผมก็ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาลให้ทุกท่านมีพลังในการดำเนินชีวิต... ดลบันดาลให้ความสุขสงบกลับมาสู่ภาคใต้และเมืองไทยอีกครั้ง... โดยเร็วพลัน...

Tuesday, March 13, 2007

เสรีภาพที่หายไป

คมช. และผู้สนับสนุนการทำรัฐประหารมักกล่าวอ้างว่า ที่ คมช. กระทำการรัฐประหารไปนั้นก็เพื่อประชาชนคนไทย เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง...

เพราะประชาชนคนไทยทนความชั่วร้ายคอรัปชั่นสารพัดของรัฐบาลคุณทักษิณไม่ไหว...

เพราะเสียงของประชาชนเรียกร้องให้รีบจัดการรัฐบาลทักษิณโดยเร็ว...

เพราะรัฐบาลทักษิณริดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ และยังก่อให้เกิดความแตกแยกขั้นรุนแรงในสังคมไทย...

.........

มาวันนี้ ผมพยายามเข้าเว็บไซต์ www.hi-thaksin.net ...

เว็บไซต์นี้เปิดตัวมาสักพัก ทำขึ้นโดยกลุ่มคนที่ชื่นชอบอดีตนายกฯ ทักษิณ และฝักใฝ่ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

เว็บไซต์นี้มีการเผยแพร่การกล่าวปาฐกถาของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เมืองนอก

เว็บไซต์นี้มีการเผยแพร่บทความ "กฏหมายไทยคืออะไรกันแน่ หนังสือต้องห้ามของ คมช." ของอดีตผู้พิพากษาศาลฏีกา

เนื้อหาก็ดูเป็นวิชาการดีนะ แม้จะเป็นเว็บไซต์มี "สังกัด" ไม่ใช่เว็บที่เป็น "กลาง" แต่ก็ไม่ได้มีเนื้อหาลามกอนาจาร ไม่ได้มีเนื้อหารุนแรงเหมือนเว็บไซต์อื่นๆอีกหลายเว็บที่ยังให้บริการกันเกร่อในโลกไซเบอร์

แต่ไม่รู้ทำไม ผมจึงเข้าเว็บไซต์นี้ไม่ได้ เหมือนมีใครจงใจมา block มัน

ไม่ทราบว่าเว็บไซต์นี้ไปริดรอนสิทธิเสรีภาพหรือก่อให้เกิดความเสียหายอะไรแก่ประเทศชาติหรือ?

หรือว่าผู้มีอำนาจเกรงว่าเว็บไซต์นี้จะทำให้คนไทยต่อต้าน คมช. และรัฐบาลเถื่อนในปัจจุบัน?

เอ... แต่ คมช. เองไม่ใช่หรือ ที่เคยบอกว่าทำเพื่อคนไทย คนไทยเรียกร้องให้ทำ คนไทยไม่ชอบรัฐบาลทักษิณอันชั่วร้าย

ถ้าการณ์เป็นดั่งนี้จริง คมช. จะกลัวเว็บไซต์เล็กๆ นี้ทำไมกันนะ?

เอ... หรือว่าการณ์กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่?

จริงๆ ถ้า คมช. มั่นใจว่าที่ทำไปทั้งหมดเพื่อประชาชนและประเทศชาติแล้ว ทำไมไม่ประกาศไปเลยล่ะ ว่าหลังร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่เสร็จ จะให้ประชาชนลงประชาพิจารณ์ว่า ยอมรับการทำงานของ คมช. และรัฐบาลชั่วคราวได้หรือไม่

ถ้าผลออกมาว่ารับได้เกินครึ่ง ก็โอเคไป แต่ถ้าประชาชนเห็นว่ารับไม่ได้เกินกึ่งหนึ่ง ก็จงแสดงความรับผิดชอบด้วยการเนรเทศตัวเองจากเมืองไทยไปเสีย

บางคนจะบอกว่าผมบ้าหรือเปล่า ทำงานไม่ดีทำไมต้องถึงขนาดไล่ออกจากประเทศบ้านเกิด?

ผมกลับคิดว่าไม่เป็นการเกินเลยแต่อย่างใด ดูอย่างอดีตนายกทักษิณสิ ประชาชนเลือกมา 19 ล้านเสียง ยังถูกขับออกจากประเทศและห้ามเข้าประเทศ แถมยึดหนังสือเดินทางทูตอีก...

ยังมีอีกเรื่องนึง... ก็พวก คมช. และผู้มีอำนาจหลายๆคนไม่ใช่หรือ ที่เคยด่ารัฐบาลทักษิณว่าริดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อและประชาชน

เอ... แล้ววันนี้ ปิดเว็บไซต์ของประชาชน ไม่คิดจะด่าตัวเองบ้างหรือ?

.........

เอาล่ะครับ ผมพล่ามมามากพอแล้ว รู้สึกไม่ชอบคำพูดตัวเองเลย มันดูประชดชันฟังดูแย่ๆ

แต่ผมทนไม่ได้จริงๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 19 กันยายน ปีที่แล้ว

เหตุการณ์ในวันนั้น ต่อเนื่องมาจนวันนี้ ทำให้ผมหงุดหงิดได้เป็นระยะๆ

ไม่เข้าใจประเทศไทย ไม่เข้าใจคนไทยจริงๆ

เบื่อ เซ็ง ท้อแท้ หงุดหงิด ผิดหวัง

แต่ผมก็ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีขึ้นมาหรอกครับ ก็แค่ทำงานของตัวเองไปก็จะไม่มีเวลาทำอะไรอย่างอื่นแล้ว

ได้แต่นั่งเขียนบล็อกด่ารัฐบาลเถื่อนและคณะปฏิวัติไปวันๆ

ก็ผมจะไปทำอะไรได้ล่ะครับ ถ้าประชาชนไทยไม่ได้ต้องการประชาธิปไตย และถ้าประชาชนไทยไม่ได้ต้องการประชาธรรม ใครจะหยิบยกให้เราได้?

Sunday, March 11, 2007

ผจญภัยเมืองลอดช่อง (1) : The Genesis

ผมเพิ่งเห็นว่า ผมได้เขียนโพสไว้โพสนึงเมื่อปีกว่าๆมาแล้ว แต่เขียนค้างไว้เกือบเสร็จ แล้ว save ไว้เป็น draft เฉยๆ ไม่ได้โพสลงบล็อก วันนี้เห็นเข้าเลยลุยเขียนต่ออีกนิดหน่อยให้เสร็จเสีย

.........

ผมจำได้ว่า ตอนผมเรียนอยู่มัธยมต้นที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า (น.ต.อ.น.) ผมมีความรู้เกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์น้อยมาก

ผมรู้แต่ว่าประเทศ
เพื่อนบ้านของไทยแห่งนี้เป็นเพียงเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งทางใต้ของมาเลเชีย มีเมืองหลวงชื่อเดียวกับประเทศ และมีชื่อเล่นว่า “เมืองลอดช่อง”

ผมรู้อยู่เท่านี้แหละครับ

ตอนนั้น ผมไม่เคยคิดไม่เคยฝันมาก่อนเลยว่า อีกไม่นาน โชคชะตาจะพัดพาชีวิตผมไปที่สิงคโปร์และให้ผมใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบสามปี

---------

วันหนึ่ง ช่วงต้นปี 2542

พ่อบอกกับผมว่า มีประกาศเล็กๆลงใน Bangkok Post ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ประกาศให้ทุนไปเรียนต่อระดับมัธยม เปิดให้นักเรียนไทยชั้นที่กำลังเรียนอยู่ ม.3-4 สมัครสอบชิงทุนได้ ชื่อทุนว่า ASEAN Secondary Scholarship (ให้ทุนนักเรียนชาติอื่นๆในอาเซียนด้วยเช่นกัน)

ทั้งพ่อและผมไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับทุนนี้มาก่อน แต่พ่อก็บอกว่าผมน่าจะลองไปสมัครสอบดู จะได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ผมก็เออๆออๆตามที่พ่อบอกแหละครับ ลองสมัครสอบดูโดยไม่คิดหวังว่าจะได้ทุน คงเพราะผมก็รู้สึกมีความสุขดีอยู่แล้วที่โรงเรียน

ก่อนสอบผมแทบไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลย มีเตรียมอยู่อย่างเดียวคือเรื่องศัพท์คณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ เพราะตัวข้อสอบทั้งสามวิชา (เลข ภาษาอังกฤษ และสอบไอคิว) เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

การสอบจัดขึ้นที่ราชฎักสวนดุสิตครับ ผมไปถึงที่นั่นแล้วตกใจและตื่นเต้นมาก เพราะเด็กที่มาสอบเยอะเหลือเกิน ร่วมสองสามร้อยคนเห็นจะได้ บวกกับผู้ปกครองและญาติๆที่ตามมาเป็นกองเชียร์ให้ลูกหลานด้วยแล้ว ทำให้บรรยากาศในวันนั้นคึกคักมากๆ ผมเพิ่งรู้ตัวก็ตอนนี้แหละครับว่าการสอบชิงทุนอันนี้มันก็ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เล่นเหมือนกัน

หลังสอบเสร็จทั้งสามวิชาแล้ว ผมบอกกับตัวเองว่า คงไม่ติดสัมภาษณ์แน่ๆ เพราะรู้ตัวว่าทำข้อสอบภาษาอังกฤษได้น้อยมาก ข้อสอบอะไรก็ไม่รู้ยากเหลือเกิน เกิดมาไม่เคยทำข้อสอบอะไรยากเท่านี้มาก่อนเลยครับ ผมว่าทำได้น้อยกว่าครึ่งนึงของคำถามทั้งหมดแน่นอน

ส่วนนึงมีบทความให้อ่านสองหน้า แล้วถามเป็นอัตนัยทั้งนั้น แล้วยังต้องเขียน essay (เค้าถามประมาณว่า ถ้าเพื่อนคนนึงทะเลาะกับพ่อแม่แล้วหนีออกจากบ้าน เราจะบอกเพื่อนเราว่าอย่างไรให้เค้ากลับบ้าน) ผมจำได้ว่าเขียนปั่นไปสุดๆ แกรมมาร์ผิดถูกไม่สนใจเลย ลุยเขียนไปตามที่ใจคิด จำได้ว่าไม่ได้เขียนเป็นเรียงความแต่เขียนเป็นแบบบทสนทนาคุยกับเพื่อนไปเลยครับ

ส่วนเลขก็พอทำได้ แต่ก็ไม่แน่ใจเพราะมันเป็นอัตนัยต้องแสดงวิธีทำทุกข้อ ส่วนวิชาไอคิวนี่เป็นปรนัย แต่ผมดันเข้าใจผิดเรื่องเวลาที่เค้าให้ ทำไปอย่างสบายๆเอ้อระเหยลองชายเพราะนึกว่าเค้าให้เวลาหนึ่งชั่วโมง ผ่านไปสิบห้านาทีกรรมการคุมสอบเค้าบอกว่าเหลืออีกห้านาทีหมดเวลานะ อ้าว! ซวยแล้วเรา เพิ่งทำไปได้ครึ่งเดียวเอง สุดท้ายก็ทำไม่ทันไปห้าข้อ ต้องกามั่วๆไป

ต่อมาสักสองสามอาทิตย์ มีจดหมายร่อนมาจากสิงคโปร์ (ลืมบอกไปครับว่าข้อสอบที่สอบไปเค้าส่งไปให้กระทรวงศึกษาฯที่สิงคโปร์ตรวจเองเลย) ก่อนเปิดซอง ผมก็แอบลุ้นอยู่นิดๆเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะอย่างที่บอกไปว่าทำข้อสอบไม่ค่อยได้

ปรากฏว่าได้ไปสอบสัมภาษณ์ครับ!

พอถึงวันสอบสัมภาษณ์ที่สถานทูตสิงคโปร์ มีกรรมการสอบสามคน รู้สึกจะเป็นคนสิงคโปร์ทั้งหมด เค้าก็ถามเรื่องทั่วๆไป ทำไมอยากไปเรียนที่สิงคโปร์, เล่ากิจกรรมที่ทำที่โรงเรียนที่เราประทับใจมา, อยากทำงานอะไร (ผมบอกไปว่าอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ เพราะตอนนั้นผมชอบเรียนวิทย์มากกว่าวิชาอื่นๆ และก็เคยฝันอยากเป็นครูสอนวิทย์ในโรงเรียนมัธยม)

ตอนสัมภาษณ์นี่ผมรู้สึกว่ามันยาวนานเหลือเกิน อย่างกับไปอยู่ในห้องเป็นชั่วโมงๆ พอสัมภาษณ์เสร็จผมออกมาแม่ก็ถามว่าเค้าถามอะไรบ้าง ทำไมสัมภาษณ์นานจัง (เกือบครึ่งชม.) ผมก็บอกว่าตอบได้มั่งไม่ได้มั่ง แถมมีตอนนึงผมบอกกรรมการว่าผมได้ยินมาว่าสิงคโปร์เป็นเมืองสะอาด ไม่มีขยะ แต่ผมนึกคำว่าขยะไม่ออก ผมเลยพูดออกไปแบบนี้...

I know that Singapore is a clean city… There is no… er..er… DUST on the street!

กรรมการทั้งสามท่านปล่อยก๊ากขำกลิ้งออกมากันใหญ่ ในขณะที่ผมยังนั่งงงๆอยู่ว่าเราพูดอะไรผิดไปเหรอ (ตอนนั้นผมนึกถึงคำว่า dustbin ที่แปลว่าถังขยะครับ เพราะฉะนั้น dust ก็ต้องแปลว่าขยะสิ) มารู้ทีหลังว่า dust มันแปลว่าฝุ่น ไอ้ที่เราพูดไปน่ะมันหมายถึงสิงคโปร์สะอาดมาก ไม่มีฝุ่นบนถนนเลย! (ฮา)

สามสี่วันหลังจากการสอบสัมภาษณ์ จดหมายอีกหนึ่งฉบับร่อนมาถึงบ้าน คราวนี้ลุ้นกว่าฉบับก่อนมาก...

ปรากฏว่าเค้าตอบรับให้ทุนเราไปเรียน!

ตอนนั้นผมดีใจมาก ทั้งๆที่ไม่ได้หวังอะไรไว้ตั้งแต่แรก พ่อและแม่ผมก็ดีใจไม่แพ้กัน ผมก็ดีใจที่พ่อแม่ดีใจ (ผมรู้ว่าทั้งพ่อและแม่เครียดมามาก เพราะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอยู่มาตลอดสองปี)

พอดีใจอยู่พักหนึ่งผมถึงค่อยเริ่มคิดขึ้นมาได้ว่า อีกไม่กี่เดือน เราจะต้องจากบ้าน จากครอบครัว จากเพื่อน จากเมืองไทย จากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย จากคนที่เรารัก ไปอยู่ต่างแดนเป็นเวลาสองปีกว่าๆ แล้วจริงๆหรือ?

แล้วไปเรียนที่นู่นเราจะไปรอดมั้ย? คนที่นู่นจะเป็นอย่างไร? เราจะหาเพื่อนได้มั้ย? ฯลฯ

ความสงสัย ความกังวล ความกลัว ผุดขึ้นมาในความคิดผมเป็นระยะๆ


.........

ทุนที่ผมได้รับนั้นให้ไปเรียนสองปีคือ Secondary 3-4 แล้วพอจบสองปีก็ต้องสอบ Cambridge ‘O’ Level แต่ก่อนเข้าเรียนเค้าจะให้ไปเรียนคอร์สภาษาก่อนสามเดือน (ตุลา-ธันวา) แล้วค่อยเริ่มเรียนในโรงเรียนจริงๆตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2000

ปีที่ผมไปมีนักเรียนไทยได้ทุนทั้งหมด 11 คนครับ (หญิง 7 ชาย 4) พวกเราได้พบเจอกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็ในงานแถลงข่าวที่กระทรวงต่างประเทศ เพื่อนๆที่ได้ทุนก็มีทั้งที่เรียน ม.3 และ ม.4 อยู่ มีมาจากโรงเรียนบดินทร์ฯ, สวนกุหลาบนนท์, วัฒนาวิทยาลัย, สาธิตเกษตร, สาธิตจุฬา, สตรีวิทย์, เตรียมฯน้อมฯ รวมไปถึงโรงเรียนบ้านนอกอย่างเฉลิมขวัญสตรีที่พิษณุโลก - ล้อเล่นนะออ เฉลิมขวัญเป็นโรงเรียนที่ดีมากๆ)

ต่อมา ผมก็ใช้เวลาช่วงไม่กี่เดือนที่เหลืออยู่ในเมืองไทย ไปกับการอำลาเพื่อนๆ อำลาครูอาจารย์ และเตรียมตัวเตรียมใจไปเรียนที่สิงคโปร์

ที่โรงเรียน ผอ.และอาจารย์จัดงานอำลาให้อึกทึกครึกโครมจนผมแอบรู้สึกว่ามันเว่อร์ไป ผอ.ให้ผมพูดลาเพื่อนๆและอาจารย์หน้าเสาธง (คือช่วงม.ต้นผมชอบพูดครับ หมายถึงพูดในที่ชุมชนหรือ speech นะครับ ช่วงนั้นผมได้เป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งพูดอยู่บ่อยๆ หรือเวลามีงานที่โรงเรียนก็พูดหน้าเสาธงบ้าง)

ตอนพูดหน้าเสาธงลาเพื่อนๆและอาจารย์ ผมได้แต่งกลอนแปดมาสักเกือบสิบบทนะครับ เพราะรู้ว่าคงพูดอะไรไม่ออก เลยแต่งกลอนมาบอกเล่าความรู้สึกแทน ผมจำได้ว่าผมพูดกลอนไปก็น้ำตาซึมไป พอพูดเสร็จลงมาเห็นเพื่อนบางคนแอบร้องไห้... ผมก็กลั้นน้ำตาไว้เกือบไม่อยู่เหมือนกัน

หลังจากนั้นก็เพื่อนๆที่ห้องก็จัดงานเลี้ยงส่งที่ห้อง พวกเรากินกันอย่างเอร็ดอร่อย และร้องเพลงกันอย่างสนุกปนเศร้า... ผมก็ได้แต่คิดว่า "มีพบก็ต้องมีพราก มีจากก็ต้องมีเจอ" จากกันวันนี้เดี๋ยวเราต้องได้พบกันใหม่แน่นอน...

.........

เวลาผ่านมาจนถึงคืนวันก่อนขึ้นเครื่อง ผมจำได้ว่าผมไปนั่งดูดาวอยู่คนเดียวที่ระเบียงบ้าน นั่งคิดไปเรื่อยถึงอดีตและอนาคตข้างหน้า พลางบอกกับตัวเองว่า เอาล่ะ เดี๋ยวเราก็คงรู้ว่าสิงคโปร์มันจะเป็นยังไง เป็นไงเป็นกันล่ะวะ ทำให้ดีที่สุดแล้วกัน

ในที่สุด วันที่ 3 ตุลาคม 2542 ก็มาถึง หลังจากอำลาครอบครัวและญาติพี่น้องที่มาส่งกันเสร็จแล้ว พวกเราทั้ง 11 คนก็ขึ้นเครื่องบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ลัดฟ้าสู่สิงคโปร์ไปด้วยกัน

การผจญภัยของผมในเมืองลอดช่องกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว...


ป.ล. ผมไม่แน่ใจว่าจะมีโอกาส (และอารมณ์) เขียนประสบการณ์ผจญภัยตอนอยู่ที่สิงคโปร์เมื่อไหร่ เพราะที่ผ่านมาหลายๆเรื่องที่ผมเขียนก็ยังค้างตอนจบอยู่ เหอๆๆ เอาเป็นว่าวันไหนอารมณ์มันให้ผมก็จะเขียนแล้วกันครับ

Tuesday, March 06, 2007

tag แฉความลับ (ข้อ 1-3)

ด้วยเหตุที่ tag กะลังระบาดอย่างหนักในโลกไซเบอร์สเปซ

และด้วยเหตุที่ผมเข้าไปอ่านบล็อกเพื่อนคนนึง ซึ่งบอกว่าไม่มีใครมา tag แต่ด้วยความเจือก+หน้าด้าน เลยขอ tag ตัวเองเสียเลย

ผมเลยขอเจือก+หน้าด้าน tag ตัวเองด้วยคน

จะว่าไปก็ดี เพราะจริงๆแล้ว ส่วนนึงของการเขียนบล็อก ก็เหมือนเขียนเก็บไว้ให้ตัวเราเองอ่านในอนาคต

อีกสิบปียี่สิบปี ผมอาจจะลืมความลับบางอย่างในวันนี้ แต่ถ้าบล็อกยังอยู่ กลับมาอ่านคงจะเอ็นจอยไม่น้อย

ว่าแล้วก็เริ่มเลยดีกว่า

ข้อแรก ผมเป็นคนที่ค้างบ้านเพื่อนบ่อยมาก

ถ้าเทียบกันในรุ่นบีอี 10 ด้วยกัน ผมน่าจะเป็นคนที่ค้างบ้านเพื่อนบ่อยที่สุด คือเฉลี่ยแล้วอาทิตย์ละครั้ง (บางอาทิตย์ค้างสองวันด้วยซ้ำ)

ประมาณว่าอยู่บ้านตัวเองขาดความอบอุ่นเลยชอบไปค้างบ้านเพื่อนสาว เอ้ยๆ ไม่ใช่ๆ อย่าเข้าใจผิดนะครับ ผมไปค้างบ้านเพื่อนผู้ชายครับ (หรือว่าอันนี้ยิ่งแย่ เพราะจะถูกหาว่าเป็นเกย์???)

จริงๆที่ผมไปค้างบ้านเพื่อนบ่อยเนี่ย เหตุผลหลักคือบ้านผมอยู่ไกล บางทีมันขี้เกียจนั่งรถต่อเรือหลายทอดอะครับ ยิ่งพอกลับค่ำหน่อย ซอยบ้านผมจะไม่มีรถสองแถววิ่ง จะต้องต่อแท็กซี่อย่างเดียว ซึ่งก็อันตราย เดี๋ยวผมจะถูกข่มขืน เอ้ย ข่มขู่ชิงทรัพย์ได้ ก็เลยหาเรื่องค้างบ้านเพื่อนเสียเลย

บางคนอาจสงสัยว่า เอ... แล้วค้างบ้านเพื่อนเนี่ยไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวเลยเหรอ?

สำหรับผม ไม่ต้องหรอกครับ

เพราะอะไรนะหรือ?

เพราะผมไปค้างบ่อยจนผมมีผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟันของตัวเอง เก็บไว้ที่บ้านเพื่อนสนิทที่ไปค้างบ่อยๆ น่ะสิครับ

ส่วนชุดนอน ก็ยืมใส่ของเพื่อนเอา (แอบเป็นภาระพวกนาย ขอโทษจริงๆนะ แต่ก็ทำอยู่ดี... ฮา...) เช้าขึ้นก็ยืมเสื้อยืดเพื่อน กางเกงยีนส์ก็ใส่ตัวเดิมเอาได้

ปัญหาสำคัญคือเรื่องกางเกงในครับ

ถ้ามีโอกาส ผมก็จะแวะซื้อที่ seven

ตอนแรกๆสมัยปีหนึ่ง ผมเคยซื้อ "กางเกงในกระดาษ" แบบใส่ครั้งเดียวทิ้ง ขายเป็นแพ็กๆละ 3 ตัวๆละ 13 บาท

แต่ใส่แล้วไม่สบายเป็นอย่างยิ่ง... ไม่แนะนำอย่างแรง

ต่อมาเลยใช้กลยุทธ์ "กลับด้าน" เอา ตามคำแนะนำของเพื่อนอีกคน (โคตรโสโครกเลยว่ะ)

มีครั้งสองครั้ง ใช้วิธียืมกางเกงบอลขาสั้นของเพื่อนมาใส่เป็น boxer

ตอนหลังนี่ไม่ทำแล้วแหละครับ มีการเตรียมตัววางแผนล่วงหน้าเสมอ

ถามว่าไปค้างบ้านเพื่อนทำอะไรกันมั่ง

อันดับแรก เล่นเกม ps2 ครับ

เกมยอดฮิตก็แน่นอน winning eleven ซึ่งพวกเราเล่นกันเป็นอาชีพเสริม มีการต่อ tab ต่อ joy ทำให้เล่นกันได้ถึง 8 คนพร้อมๆกัน! จัดแข่งเป็นทัวนาเมนต์ แบ่งฝ่ายเล่น มีเล่นเดี่ยว เล่นคู่ คู่ผสม เดี่ยวสลับมือ

เล่นกันถึงขนาดจัดเป็นชาร์ต ranking และมี handicap ของแต่ละคนด้วย

ส่วนฝีมือการเล่นของผมนั้น อย่าให้พูดเลยดีกว่า ไว้ใครอยากเจอก็ท้ามาได้ พร้อมรับคำท้าเสมอ (คุยข่มไว้ก่อน หุหุ)

นอกจากเล่นวินนิ่ง พวกเราก็เล่นไพ่แบบต่างๆ อ่านการ์ตูน เล่นเกมเศรษฐี เกม risk เล่นไพ่ยูกิ ดูหนัง เชียร์บอล เตะบอล ฯลฯ (มีแต่เรื่องไร้สาระ แฮ่ๆ ก็นะถือเป็นการพักผ่อน)

แต่ไม่ดื่มสุราของมึนเมานะครับ

อ้อ มีอีกอย่างที่เรานำมาเล่นกัน นั่นก็คือ เกมแฟนพันธุ์แท้ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกครับ

โดยเพื่อนผมคนนึงที่ชื่นชอบฟุตบอลเป็นชีวิตจิตใจ (ตอนนี้ได้งานเป็น columnist ที่บริษัทสยามสปอร์ตไปแล้ว) จะเป็นคนจัดทำเกมแฟนพันธุ์แท้พรีเมียร์ลีกมาให้คนอื่นแข่งกัน

รูปแบบเกมอยากจะบอกว่า create กว่าของคุณปัญญาเสียอีก

(อีกอย่าง ไม่มีการเตี๊ยมกันเหมือนแฟนพันธุ์แท้ของคุณปัญญา - อันนี้ผมมีข้อมูลลับจากคนที่เคยไปแข่ง ปรากฎว่าเค้ามีการเตี๊ยมกันจริงๆครับ - เฮ้อ วงการมายา...)

เพื่อนผมเคยจัดแข่งแฟนพันธุ์แท้พรีเมียร์ของบีอี โดยมีตัวแทนทุกชั้นปีเข้าแข่งอีกด้วย

อยากรู้จักเพื่อนผมคนนี้ ติดตามได้ในรายการ kick off ทางช่อง espn นะครับ เขาและเพื่อนอีกคนเป็นตัวแทนประเทศไทย

นอกจากแข่งแฟนพันธุ์แท้พรีเมียร์แล้ว เรายังเคยเล่นแฟนพันธุ์แท้ "เพื่อนๆ", "บีอี", "อาจารย์", "อาหาร", "จังหวัด", "ประเทศ", "หนัง", "เพลง", "ละคร" หรือแม้กระทั่งสิ่งที่พวกเราเรียกว่า แฟนพันธุ์แท้ "จุดจุดจุด" (คือไม่มี topic เป็น "อะไรก็ได้")

เรียกว่าเล่นกันได้ไปเรื่อย ไร้สาระไปได้เรื่อยๆในช่วงเวลาที่ชีวิตยังพอมีเวลาให้ทำอะไร "ไร้สาระ" ได้

เอ่อ นี่ข้อแรกข้อเดียวทำไมมันยาวหลายเรื่องอย่างนี้

รู้สึกเหมือนยิ่งเขียนยิ่งประจานตัวเอง (ฮา)


ข้อสอง ผมเคยฉี่ราดกลางห้องเรียน!!

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นสมัยผมเรียนอยู่ ป.2 ณ โรงเรียนเพ็ญสมิทธ์ (โรงเรียนที่นักเรียนหญิงใส่ชุดนักเรียนเหมือนในการ์ตูน Sailor Moon)

ผมจำได้ว่าตอนนั้นกำลังเรียนคาบวิชา English Conversation กับ "มิสปัทมา" อยู่

"มิสปัทมา" เป็นครูที่สอนหนังสือดี มีหัวใจวัยรุ่น แต่ก็มีความเข้มและแอบดูดุๆ

บังเอิญวันนั้น มีเด็กในห้องขออนุญาตไปห้องน้ำหลายคน จนคุณครูคงนึกว่าเด็กแกล้งขอไปห้องน้ำเพื่อ "อู้" เรียน "มิสปัทมา" จึงบอกว่า ห้ามขออนุญาตไปห้องน้ำแล้วนะ

ต่อมา เรียนๆอยู่ ผมก็เกิดปวดท้องฉี่ขึ้นมา

แรกๆก็บอกว่า รอหมดคาบก่อนค่อยไปเข้าแล้วกัน

ต่อมากระเพาะปัสสาวะมันเริ่มส่งสัญญาณรุนแรงมากขึ้นๆ จนผมเริ่มกระวนกระวาย นั่งบิดไปบิดมา

แต่ด้วยความเป็นเด็กดีเชื่อฟังครู บวกกับความกลัวคุณครูว่า เลยไม่กล้าขอไปห้องน้ำ

เวลาผ่านไปช้าเหลือเกิน ทำไมคาบเรียนถึงได้ยาวนานเช่นนี้...

จะปวดแค่ไหน ไม่รู้ทำไมผมไม่ยอมขอไปห้องน้ำ

จนมัน "ราด" ออกมาทั้งที่นั่งๆอยู่กลางห้องเรียนนั่นแหละครับ...

เกิดอะไรขึ้นต่อไป ก็จินตนาการเอาเองละกันนะครับ บอกได้อย่างเดียวว่าอับอายมากๆ

และที่สำคัญ ผมยังจำคำพูดของ "มิสปัทมา" หลังผมฉี่ราดได้ชัดเจน

"ทำไมเธอไม่ขอครูไปห้องน้ำ?"

ข้อสาม ผมเคยโกรธที่สุดและระบายออกมาโดยการทำร้ายร่างกายคนๆนั้น...

เรื่องนี้เกิดขึ้นตอนผมอยู่ ป.6 ในเย็นวันนึง ใกล้ที่เราจะปิดเทอมและจบการศึกษาแล้ว ผมและเพื่อนอีก 2 คนกำลังเตะบอลส่งกันไปมาอยู่ดีๆ ก็มีรุ่นพี่ ม.3 ประมาณ 3 คน เข้ามาแย่งบอลไปเล่น

ผมและเพื่อนไม่ยอม พยายามแย่งบอลคืนมา เพราะอยากเตะบอลกะเพื่อนซึ่งกำลังจะต้องแยกย้ายกันไปในอีกไม่กี่วัน

ผมวิ่งไล่พวกพี่ๆอยู่นาน เมื่อผมแย่งบอลคืนมาได้ ผมกลับทำผ้าเช็ดหน้าตกไปอยู่ในมือของพี่คนนึง

เรายืนห่างกันประมาณ 4-5 เมตร

พี่คนนั้นบอกผมว่า อยากได้ผ้าเช็ดหน้าคืนก็เอาลูกบอลมา

ผมฮึดฮัดไม่รู้จะเอายังไงดีอยู่พักนึง ก่อนที่ผมจะตะโกนตอบไปว่า

"อยากได้บอลนักใช่มั้ย..."

พร้อมกับขว้างลูกบอลหนังลูกนั้นออกไปด้วยความเร็วและแรงเท่าที่ผมจะมีแรงขว้าง

บอลพุ่งตรงเข้าใส่หน้าพี่คนนั้นอย่างเต็มเปา... ผ้าเช็ดหน้าผมหลุดจากมือพี่คนนั้น...

พี่คนนั้นหน้าแดงแล้วก็ออกวิ่งตรงเข้าหาผม

ส่วนผม ก็วิ่งหนีสุดชีวิต แต่ยังไม่วายวิ่งวนไปเก็บผ้าเช็ดหน้าที่ตกอยู่ แล้วก็วิ่งๆๆๆๆๆ สุดชีวิต

พวกของพี่คนนั้นอีก 2 คนก็มาร่วมวิ่งไล่ผม

ผมอาศัยการเป็นนักวิ่งเหรียญเงินกีฬาสี กับการวิ่งยึกยัก cut back, cut inside เหมือนเวลาล็อกบอล ทำให้พวกพี่สามคนวิ่งไล่ตามผมไม่ทันสักที

แต่ก็นะ วิ่งไปวิ่งมาเราก็เหนื่อย แล้วก็ถูก "ต้อน" เข้ามุมจนได้

ผมจำไม่ได้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จำได้แต่ว่าคอเสื้อผมถูกกระชาก และได้ยินเสียงด่าอะไรต่อมิอะไรออกมาจากปากพวกพี่ๆพวกนั้น

แต่โชคดีที่พวกเขาก็ไม่กล้าพอที่จะต่อยหรือทำร้ายอะไรผม

ระหว่างฉุดกระชากลากเหวี่ยงกันอยู่นั้น เพื่อนผมคนนึงซึ่งเป็นนักเลงหัวโจกประจำโรงเรียนเดินผ่านมาพอดี เลยเข้ามาไกล่เกลี่ย ดูเหมือนมันจะรู้จักพวกพี่ๆพวกนี้ มันก็ช่วยขอโทษแทนผมแล้วก็บอกว่าผมเป็นเพื่อนมัน

เรื่องจึงได้สงบลง ผมและพี่ๆก็ถูกยามเรียกไปนั่งสงบสติอารมณ์ในโรงอาหาร โดยมีป้าขายขนมร้านประจำของโรงเรียนมาพูดอบรม ว่าเป็นพี่น้องโรงเรียนเดียวกันอย่าทะเลาะกันอีก

ผมจำได้ว่าผมร้องไห้ ด้วยความกลัวหรือความอ่อนแอหรือความที่ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อนกระมัง...

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็จบลงแค่นั้น ผมไม่เคยเล่าให้พ่อแม่ฟังด้วยซ้ำ คุณครูผมก็ไม่รู้เรื่องอะไร

มาวันนี้มองย้อนกลับไป ก็ถือเป็นประสบการณ์ตื่นเต้นเร้าใจอันนึง ที่สำคัญ มันสอนให้เรารู้ว่า อย่าไปทำร้ายใช้ความรุนแรงกับใครก่อน ไม่ดี๊ไม่ดีแน่นอนครับ...

เอาแค่สามข้อก่อนละกันครับวันนี้ ไว้ผมคิดอีก 2 ข้อได้เมื่อไหร่ค่อยมาเขียนต่อ

Saturday, March 03, 2007

Prof.Xavier!

Have you ever heard of Professor Xavier Sala-i-martin of Columbia University?

I’ve never taken his class nor have I met him, but today I intend to talk about this professor whom I believe to be one of the coolest I’ve ever known.

I first came across his (weird) name a few years ago when I was taking an economic development class at UC Davis. My TA at that time, Mr.Chad Sparber, gave us the link to his website.

After visiting his site once, I knew this guy isn’t just another professor.

Prof.Xavier was born in Catalonia, better known to most people as Catalan, whose major city is Barcelona (in Spain).

He got his PhD in Economics from Harvard. He currently teaches at Columbia and was once the acting President of Barcelona Football Club!

Why do I find him interesting enough to write about?

Well, first of all, his work is mainly about poverty reduction, world income distribution and economic growth, certainly the areas that are of utmost relevance and importance in Economics, at least in my opinion.

These issues may appear to be boring to some people but I truly believe they are really interesting and important. To me, the most relevant and interesting questions in Economics are: Why do countries grow? How to make a country kick start and sustain economic growth?

After all, it has been proven that long-term economic growth is the best way to reduce poverty and improve people’s standards of living.

I shall find some time to write about all these development issues later but let’s now come back to Prof.Xavier’s life story.

Apart from his highly recognized work, Prof.Xavier is a great teacher.

One of my close friends is currently attending his Intermediate Macroeconomics undergrad class at Columbia and she REALLY likes him.

She told me Prof.Xavier always wears very unique (well, might as well say weird) clothes to class and he also wears an afro hat.

My friend recalled...

On the first day of the class, Prof.Xavier walked in and began his lecture with

"The first lesson you will learn in Macroeconomics is... my name."

"Xa, as in shah of Iran... and then... B-A, instead of A-B.... so... shah-B-A (= Xavier)"

Then, he would go on and say,

"The difference between micro and macro is that... Micro is useful and macro is useless..."

Well, it wasn’t really how you would expect an Economics professor to begin his class, but that was quite a great way to begin the class and make the first impression, right?

I mean I prefer to start the class this way to the traditional way in which the professor comes in, says his name, and go directly into the course outline and assessments and all those boring stuff.

After all, the most important thing to get students interested in the subject.

My friend also says his class has never been boring. In fact, it has been great fun! (a visit at his website would strongly suggest that he’s fun and funny to be with)

He also has this "Question of the Day" award in every class, and the first one to answer it correctly gets an award.

Just like himself, his questions are random. They aren’t difficult nor tricky, but certainly challenging.

One day, he was teaching the IS-Lm model to illustrate the effects of monetary policy. He drew so many lines and graphs on the board using so many different colors of chalks.

Then he asked... "When this happens, what will happen to the graph?"

A student answered "the LM would shift to the right..."

"Yes, I know... but here’s the question of the day... which of all these lines is LM curve?"

Then the one who answers correctly ("The purple line!") would get the award.

Well, I know that each professor has his or her own unique style of teaching.

But for some lecturers who feel like their students often aren’t paying attention or are falling asleep in class, I suggest they try to be more innovative in their teaching methods and techniques.

.........

I think that should be enough for the short introduction to Prof.Xavier’s stories.

So far, if you like him, I leave it to you to visit and explore his website. It’s full of interesting, funny and useful stuff. (Try to click and see every single link in his page, they are all really cool!!)

For those who find him to be silly, it must be because of my failure to introduce him properly. So I suggest you visit and explore his site anyway.

Enjoy!

Tuesday, February 20, 2007

ไฟใต้

วันก่อนเกิดเหตุลอบวางระเบิดและลอบทำร้ายหลายสิบจุดในภาคใต้

ผมไม่เข้าใจว่ารัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทำงานกันอย่างไร ถึงได้ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นได้ถึงเพียงนี้

ผมเข้าใจว่าการทำงานมันไม่ง่าย เพราะโจรอยู่ในที่ลับ เป็นฝ่ายกำหนดการเดินในแต่ละเกมก่อนฝ่ายทหารตำรวจ

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น การที่ปล่อยให้เกิดเหตุวินาศกรรมมากมายถึงเพียงนี้ แสดงถึงความไร้ซึ่งความสามารถของผู้รับผิดชอบ

ถ้าเหตุมันเกิดแค่ไม่กี่จุด ผมจะไม่ว่าเลย แต่นี่ปล่อยให้เกิดหลายสิบจุดได้อย่างไร?

แล้วกลยุทธ์ที่พวกโจรใช้ก็มุขเดิมๆ ก่อเหตุ แล้วโปรยตะปูเรือใบ หนีไปหลบซ่อนอย่างสบายใจ

ผมจะไม่ว่าเลย ถ้าการก่อการร้ายเพิ่งจะเริ่มเกิด แต่นี่ปัญหามันเกิดมาหลายปีแล้วนะ

เปลี่ยนผู้ดูแลรับผิดชอบมาหลายคนแล้ว หรือว่าตำรวจทหารไทยหมดสิ้นซึ่งคนที่มีความสามารถแล้ว?

ยิ่งตอนนี้ ทหารเป็นรัฐบาล นายกฯ และประธาน คมช. ก็เป็นนายพลระดับแนวหน้าของประเทศ... ยิ่งควรจะสามารถควบคุมดูแลความเรียบร้อยได้ดี

แต่การณ์กลับหาเป็นเช่นนั้นไม่

ผมไม่เข้าใจ ผมสงสัยเหลือเกินว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลัง เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้กระทำผิดยังคงลอยนวลอยู่ ทั้งๆที่เวลาผ่านมาแรมปี...

ผมไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่ผมไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไมคนที่น่าจะเก่งน่าจะมีความสามารถ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ถ้าท่านได้ทำเต็มที่สุดความสามารถแล้ว ผมก็ไม่ขอว่าอะไร แต่อยากขอให้รู้ว่า your best isn't good enough, please quickly and significantly improve yourself, or get out and let somebody else do your job

แต่ถ้าท่านยังไม่ได้ทำงานสุดความสามารถ และปล่อยให้ประชาชนคนใต้ต้องมีชีวิตที่หวาดระแวง ปล่อยให้โจรมันหึกเหิมขนาดนี้ต่อไป ผมถือว่าท่านแย่มาก สมควรถูกด่าและประณาม ควรถูกลงโทษด้วยข้อหาบกพร่องในหน้าที่ความรับผิดชอบ

การเข้าไปพัฒนาในพื้นที่ก็ควรทำไป การเสริมสร้างสมานฉันท์ก็ทำไป แต่กับพวกโจร ต้องเล่นแรงและเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ จะใช้ไม้อ่อนกับผู้ก่อการร้ายไม่ได้ ต้องคิดหากลยุทธ์ใหม่ที่จะต่อกรกับพวกมัน เพราะที่ผ่านมาก็เห็นกันชัดๆแล้วว่า กลยุทธ์เดิมๆของทางการอ่อนด้อยเกินกว่าจะรับมือกับพวกโจรได้

หวังว่าไฟใต้จะสงบโดยเร็ว

Monday, February 19, 2007

แต่งตัวโป๊


อาทิตย์ก่อน มีข่าวเรื่องนักศึกษา มธ. แต่งกายวาบหวิวออกงานมอบรางวัลสุพรรณหงส์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วบ้านทั่วเมือง

กระแสของสื่อและคนส่วนใหญ่ดูจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำอัน "ไม่เหมาะสม" ของน้องเอมี่

ตอนแรกผมก็คิดเช่นนั้น แต่พอได้ลองหยุดคิดสักนิด ฉุกคิดสักหน่อยแล้ว

ผมคิดว่าการกระทำของน้องเอมี่ไม่ควรได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบมากมายขนาดนี้

หรืออย่างน้อยที่สุด หากน้องเอมี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ผมก็เห็นว่าควรมีบุคคลอื่นๆอีกมาก (ดาราหลายคน) ที่สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน

เหตุผลของผมไม่มีอะไรมาก ผมแค่เห็นว่าดาราหลายคน เวลาออกงานบันเทิงมอบรางวัลต่างๆ ก็มักจะแต่งตัวหวือหวา เซ็กซี่จนเกินงามอยู่บ่อยครั้ง

โป๊กว่าน้องเอมี่ก็เคยเห็นมาแล้ว แต่ไม่ยักกะมีใครว่า (ไม่เชื่อลองหาดูภาพเก่าๆของอั้ม หรือใหม่ สุคนธวา ดูได้)

จะมาอ้างว่ากรณีของน้องเอมี่ไม่เหมาะสมเพราะสถานที่เกี่ยวข้องกับย่าโม ก็ดูจะไม่มีน้ำหนักพอ เพราะดาราคนอื่นก็แต่งตัวเปิดส่วนเว้าส่วนโค้ง หน้าอกหน้าใจ แผ่นหลัง เรียวขา กันทั้งนั้นในงาน ถ้าจะอ้างว่าเกี่ยวข้องกับย่าโม ก็ควรจะแต่งชุดเรียบร้อยกันไปเลย แต่งชุดไทยย้อนยุค หรืออะไรประมาณนั้น

แต่นี่ การแต่งกายและบรรยากาศของงาน เป็นเหมือนงานมอบรางวัลในวงการบันเทิงมากกว่า

ผมเลยเห็นว่า มันแปลกที่น้องเอมี่โดนว่า ถึงขั้นต้องถูกมหาลัยลงโทษ ในขณะที่คนอื่นไม่ได้โดนว่าอะไร

คำถามที่อยู่ในใจผม - คำถามที่ผมคิดว่าสำคัญ - คือ

1. เมื่อก่อนนี้ (ในยุคสมัยต่างๆ) การโชว์สรีระของผู้หญิงไทยในที่สาธารณะ มีมากน้อยแค่ไหน และเวลาที่โชว์ มีเหตุผลอะไร ทำไมต้องโชว์ต้องโป๊

2. หากเมื่อก่อนนี้ ผู้หญิงไทยรักตัวสงวนตัว ไม่แต่งตัวโป๊จริง (แบบที่คนมักอ้างว่า วัฒนธรรมไทย ผู้หญิงต้องรักตัวสงวนตัว) แล้ว ทำไมเดี๋ยวนี้ผู้หญิงไทยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงได้แต่งตัวเปิดเผยยิ่งขึ้นๆ ทำไมภาพผู้หญิงที่พบเห็นในโฆษณา ละคร นิตยสาร และสื่อต่างๆ ถึงได้ดูจะเซ็กซี่และโป๊ยิ่งขึ้นมาก จนดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ... อะไรคือแรงจูงใจหรือเหตุผลที่แท้จริง ที่ทำให้ผู้หญิงแต่งตัวโป๊???

3. การแต่งตัวโป๊ สมควรถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่? เป็นเรื่องที่ "ผิด" หรือเปล่า? หรือเป็นสิทธิส่วนบุคคล? มีผลเสียต่อสังคมบ้างหรือไม่?

ผมไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ (จิตใจนารีลึกล้ำยากแท้หยั่งถึง) เลยอยากขอคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญแถวนี้ (ผมเชื่อว่ามีหลายคน 55)

Tuesday, January 16, 2007

สุดทนการเมืองไทย


ตอนแรกว่าจะเขียนบล็อก ปีใหม่และการเดินทางของหัวใจ ให้จบ แต่ตอนนี้อารมณ์ไม่ดีเลย เพราะสุดจะเหลืออดเหลือทนกับเรื่องราวทางการเมืองในบ้านเรา

จริงๆ ผมคิดไว้ว่าจะไม่เขียนเรื่องการเมืองหรือเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิวัติลงบล็อก เพราะคิดว่าทุกคนคงได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นนี้ในโอกาสอื่นๆมามากแล้ว ผมเองก็คุยเรื่องนี้เสียจนเบื่อ ไม่อยากจะมาเขียนลงบล็อกอีก

แต่ตอนนี้มันทนไม่ไหวแล้วครับ เซ็งและหงุดหงิดมาก ขอระบาย (ด้วยเหตุด้วยผล) หน่อยเถอะ

นาทีแรกที่ผมได้ยินข่าวเรื่องการทำรัฐประหารในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมแทบไม่เชื่อหูตัวเอง ผมไม่เชื่อว่าประชาชนหรือนักวิชาการหรือผู้นำทางสังคมจะยอมรับการทำรัฐประหารครั้งนี้ ผมคิดว่าสังคมเราเติบโตมากพอและฉลาดพอที่จะมองเห็นว่าการทำรัฐประหาร - การล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบของประชาชน – เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและสมควรแก่การถูกประณาม

วันรุ่งขึ้นหลังจากการทำรัฐประหาร ผมก็เพิ่งเข้าใจว่าผมคิดผิดไปอย่างสิ้นเชิง

ผมเสียใจกับการทำรัฐประหารครั้งนี้ ผมผิดหวังกับ “ปัญญาชน” ผู้นำทางสังคม นักการเมือง และสื่อมวลชนส่วนใหญ่

การยึดเอาอำนาจการบริหารประเทศจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ก็ไม่ต่างอะไรกับการยึดเอาอำนาจและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยไปโดยพลการ ถือเป็นการดูถูกและไม่ให้เกียรติคนไทยอย่างที่ผมรับไม่ได้

ขนาดผมไม่ได้ชื่นชอบและไม่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย ผมยังรับไม่ได้เลยที่คณะรัฐประหาร (ไม่อยากเรียกคณะปฏิรูปฯ เพราะชื่อมันหลอกหลวงชัดๆ) มาขโมย “เสียง” ของผมไปดื้อๆ ยังไม่นับเสียงประชาชนอีกสิบกว่าล้านเสียง... คุณไม่สนใจความรู้สึกและไม่ยอมรับความคิดเห็นของพวกเขาเลยหรือ?

ทุเรศ...

พวกคุณเป็นใครถึงมีสิทธิพิเศษที่จะยึดอำนาจของผมไป? เป็นพระเจ้ามาจากไหนที่จะมาแต่งตั้งใครมาเป็นนายกฯ แต่งตั้งใครมาเป็นผู้บริหารประเทศ? คุณรู้ได้อย่างไรว่าคุณดีกว่าเก่งกว่ารัฐบาลชุดก่อนที่คุณล้มไป? คุณมีสิทธิอะไรมาห้ามมิให้จัดการชุมนุมทางการเมืองอย่างสงบ?

คุณมีสิทธิอะไรมาแต่งตั้งคนกลุ่มหนึ่ง (คตส.) ขึ้นทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริตรัฐบาลชุดก่อน แถมยังเลือกแต่คนที่เป็นอริกับไทยรักไทยมาอยู่ในคณะกรรมการ ทั้งๆที่การตรวจสอบสืบสวนให้คุณให้โทษใครควรต้องกระทำโดยคนที่มีความเป็นกลางที่สุด หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่ใช่คนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้ถูกตรวจสอบอย่างชัดเจนเช่นนี้

และล่าสุด... คุณมีสิทธิอะไรมา “ขอความร่วมมือ” สื่อมวลชนไม่ให้เสนอข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายกฯ? คุณอ้างว่า “เพื่อป้องกันความขัดแย้งและรักษาความสงบเรียบร้อย” ของประเทศ... อืม... มันทำให้ผมนึกย้อนไปถึงปีที่แล้ว ก่อนการรัฐประหาร ทำไมคุณไม่ออกมาเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆที่พยายามกระตุ้นอารมณ์ผู้คนเพื่อสร้างความขัดแย้งแบบรุนแรง อยู่ในความสงบบ้างล่ะ? อย่างนี้มัน Double Standard นี่...

และที่สำคัญ ความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติของสังคมไม่ใช่หรือ? ประชาธิปไตย แม้จะไม่ใช่ระบอบการปกครองที่สมบูรณ์แบบ ก็ได้วางกรอบการยุติความขัดแย้งต่างๆ อย่างสงบไว้ให้แล้ว เป็นกรอบที่มีกฎเกณฑ์และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่นิยมการใช้อำนาจบาทใหญ่ ไม่นิยมการใช้ความเห็นหรืออารมณ์ส่วนตัวมาตัดสินความขัดแย้งต่างๆ

น่าเสียดายและน่าเสียใจที่ชนชั้นกลางและชั้นนำของไทยจำนวนมากกลับไม่สนใจในกรอบเหล่านี้ มัวแต่คิดว่า “ทำยังไงก็ได้ ขอให้ได้ผลตามที่ข้าต้องการก็พอ ในเมื่อทักษิณมันเหี้ย ก็ต้องเอามันออกไปให้ได้ จะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ต้องใช้วิธีตามรัฐธรรมนูญหรอก มันชักช้าอืดอาด เอาอะไรก็ได้ที่เห็นผลเร็วๆ...”

ผมเห็นว่าเป็นความคิดที่สะเพร่าและตื้นเขินสิ้นดี... ซึ่งเมื่อประกอบกับสื่อมวลชนไทย ที่ผมเห็นว่ามีเสรีภาพสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่กลับไม่มี “กึ๋น” พอ ตามเกมการเมืองของฝ่ายต่างๆไม่ทันแล้ว... สุดท้าย การยุติความขัดแย้ง(แบบชั่วคราว) ของเมืองไทยก็ลงเอยด้วยการทำรัฐประหารแบบที่เป็น

เสียดายแทนสังคมไทย... แทนที่เราจะได้เรียนรู้กระบวนการยุติความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองของไทย เรากลับทิ้งโอกาสนั้นไปแล้วถอยหลังเข้าคลอง โยนอำนาจความรับผิดชอบในการบริหารประเทศให้กับชนชั้นนำกลุ่มหนึ่งที่แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศ

เมื่อไหร่ล่ะ เราถึงจะมีโอกาสดีๆที่จะได้เรียนรู้การยุติความขัดแย้งแบบสงบและแบบศิวิไลซ์อีก?

ทั้งหมดนี้ ยิ่งประกอบกับความเย่อหยิ่งของ “ผู้มีบารมี” หลายคน รวมถึงความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ที่ยังคิดว่า The King can do no wrong แล้ว... มันยิ่งทำให้สังคมไทยยังคงเป็นสังคมอำนาจนิยมที่อำนาจการบริหารถูกกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆกุมไว้ โดยที่ประชาชนตาดำๆไม่มีสิทธิมีเสียงใดๆในการบริหารประเทศของตน

Monday, January 01, 2007

ปีใหม่... การเดินทาง "ภายใน"... ตามหา "หัวใจ" ของตัวตน (1)

สวัสดีปีใหม่มิตรรักชาวบล็อกทุกท่านนะครับ...

ในช่วงวันหยุดปีใหม่นี้ ผมไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนไกลๆเป็นพิเศษ เหตุผลหลักก็เพราะผมไม่อยากไปแย่งชิงสินค้า บริการ และทรัพยากร กับผู้คนมากมายที่เดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้พร้อมๆกัน ผมไม่อยากให้การเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งสมควรจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนและการเรียนรู้ ต้องกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความอลหม่านวุ่นวาย

ผมจึงเลือกที่จะนั่งเล่นนอนเล่นอยู่บ้าน แล้วหาอะไรทำไปวันๆตามแต่อารมณ์อยาก ไม่ต้องมีแผนการพิเศษอะไร ไม่ต้องมีกำหนดการใดๆมาบีบบังคับเหมือนช่วงวันปกติธรรมดาอื่นๆ สำหรับผมแล้ว นี่คือการพักผ่อนที่แสนสบาย

อย่างไรก็ตาม ถึงจะเป็นการหยุดพักผ่อนแบบง่ายๆ มันก็ต้องการเตรียมตัวล่วงหน้าบ้างเล็กน้อย โดยผมได้แวะไปร้านนายอินทร์สาขาท่าพระจันทร์เพื่อหาซื้อหนังสือดีๆมาไว้อ่านสักเล่มสองเล่ม ซึ่งผมก็ได้ “วิหารที่ว่างเปล่า” ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล และ “เขียนฝันด้วยชีวิต” ของประชาคม สุนาลัย ติดมือกลับออกมา ตามคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่งและรุ่นพี่อีกคนหนึ่งผู้เป็นหนอนหนังสือตัวยง

ในยามที่ผมอยากใช้เวลาอยู่กับตัวเองและหลบหนีความสับสนวุ่นวายของโลกภายนอก ผมก็ยังแอบรู้สึกเหงาๆและเปล่าเปลี่ยวอยู่บ้างในการปลีกวิเวก ในช่วงเวลาเช่นนี้ หนังสือดีๆสักเล่มถือเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด… เพื่อนที่ทำให้เราอยู่กับตัวเองได้โดยไม่รู้สึกหว้าเหว่ ช่วยให้เราไม่รู้สึกเหงา แต่ก็ไม่ได้มารบกวนความเป็นส่วนตัวของเราแต่อย่างใด… คงด้วยเหตุนี้กระมัง คุณพ่อผมถึงได้ตั้งชื่อร้านหนังสือที่แกเคยเป็นเจ้าของว่า ร้านหนังสือ “เพื่อนรัก”

และผมก็ต้องขอขอบคุณ “วิหารที่ว่างเปล่า” ของ อ.เสกสรรค์ ที่แม้ผมเพิ่งจะอ่านมันไปได้แค่ครึ่งเล่ม แต่มันก็ช่วยเติมเชื้อไฟให้ผมเกิดพลังในการเขียนหนังสือขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากไฟนักเขียนมอดไปพักหนึ่ง… นี่กระมังคือพลังของหนังสือ พลังของงานวรรณกรรม ที่นอกจากจะทำให้คนอ่านมีช่วงเวลาดีๆจากการอ่านแล้ว ยังให้ “สิ่งพิเศษ” อื่นๆอีกมากแก่จิตใจและชีวิตของคนอ่าน

……………

วันเสาร์ที่ผ่านมา ผมตื่นประมาณเกือบเจ็ดโมงเช้า สูดอากาศเย็นๆสบายๆยามเช้าแล้วรู้สึกสดชื่นและมีความสุข

ผมถือว่าเป็นโชคดีของผมอย่างหนึ่งที่บ้านของผมไม่ได้อยู่ในตัวเมือง บ้านผมตั้งอยู่ในซอยๆหนึ่งบนถนนที่ไม่มีชื่อเฉพาะ แต่ผู้คนแถวนี้เรียกขานกันว่า ถนนสามสี่ห้า (ทางหลวงหมายเลข 345)

ถนนเข้าซอยบ้านผมนั้น แม้จะลาดยางไว้อย่างดี แต่พื้นถนนก็ไม่ได้ราบเรียบเป็นระนาบเดียวกันและมีหลุมมีบ่อบ้าง เป็นผลจากการที่มีรถบรรทุกดินหนักเกินพิกัดวิ่งผ่านอยู่เป็นระยะๆ ถนนจึงต้องมีการซ่อมปรับปรุงเกือบทุกปี แต่ถึงสภาพถนนในซอยจะไม่ดีนักเมื่อเทียบกับถนนในเมือง แต่บรรยากาศสองข้างทางกลับชดเชยได้เป็นอย่างดี

ถ้าไม่นับโรงปูนเล็กๆแห่งหนึ่งตรงปากทางเข้าซอย และหมู่บ้านจัดสรร 4-5 หมู่บ้านในซอยแล้ว สองข้างทางของซอยบ้านผมนั้นแทบไม่มีตึกแถวหรือสิ่งปลูกสร้างล้ำสมัยใดๆเลย ในทางกลับกัน ถนนในซอยถูกห้อมล้อมไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ ทุ่งนาข้าว สวนผลไม้ สระน้ำที่ใช้ทำนาบัว ตลอดจนบ้านปูนผสมไม้ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนี้มานาน และยังมีวัดลำโพธิ์เป็นศูนย์รวมกิจกรรมของคนในชุมชน

เวลาขับรถเข้าซอย บางทีผมก็จะเห็นชาวบ้านพาเป็ดนับสิบตัวที่เลี้ยงไว้มาเล่นน้ำ บางวันโชคดีก็จะเห็นนกน้ำสีขาวนับร้อยตัวมาหาหอยหาปลากินในท้องนา ถือเป็นบรรยากาศสบายๆสไตล์ไทยๆที่ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากที่มีโอกาสได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้อยู่ทุกวี่วัน แม้จะมีความไม่สะดวกในการเดินทางบ้าง แต่ผมก็คิดว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับอากาศดีๆและธรรมชาติแวดล้อมในบริเวณนี้

จะว่าไปแล้ว การกลับบ้านของผมในแต่ละวันก็อาจจะเปรียบได้กับการเดินทางไปพักผ่อนตามรีสอร์ทในต่างจังหวัด ทุกๆวันตอนเย็น ผมจากโลกแห่งการทำงานในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์กลับเข้าสู่อีกโลกหนึ่งที่ยังสงบและเป็นธรรมชาติ ก่อนที่จะตื่นด้วยความสดชื่นเพื่อเข้าเมืองอีกครั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น…

…………

กลับมาที่เช้าวันเสาร์อีกครั้ง…

หลังจากไปส่งน้องเรียนพิเศษภาษาจีนแถวบางแคในตอนเช้าเสร็จ ผมกับแม่ก็ไปเดินหาซื้อของขวัญปีใหม่ที่งานของขวัญที่กรมส่งเสริมการส่งออกและที่ตลาดนัดจตุจักรสักพัก หลังจากนั้นผมก็แยกไปขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยมีสถานีปลายทางอยู่ที่ “สนามกีฬาแห่งชาติ”

ผมห่างเหินจากสนามศุภชลาศัยมานานพอดู ครั้งล่าสุดที่มาที่นี่คือเมื่อตอนฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์เมื่อสามปีก่อน สำหรับในวันนี้ ผมไม่ได้มาในฐานะนักศึกษาเลือดเหลืองแดง แต่มาในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่ง

วันนี้… ผมมาเชียร์ฟุตบอลไทยเตะนัดชิงชนะเลิศกับเวียดนาม ในศึกฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ บอลคู่นี้ถือเป็นคู่แห่งศักดิ์ศรี ใส่กันเต็มที่แน่นอน ผมเองมีเพื่อนชาวเวียดนามหลายคน พวกเขาบ้าบอลมาก บ้ากว่าคนไทยเสียอีก และพวกเขาต่างก็ต้องการล้มไทยผู้เป็น “พี่เบิ้ม” ในวงการฟุตบอลอาเซียนนี้ให้ได้

ถามว่าทำไมผมถึงลงทุนมาเชียร์ไทยถึงขอบสนาม ทำไมไม่นั่งดูทางทีวีสบายๆที่บ้าน? ผมเองก็ไม่แน่ใจนัก แต่ผมมีความรู้สึกแปลกๆว่าทีมชาติไทยชุดนี้มีอะไรพิเศษที่แตกต่างจากชุดก่อนๆในช่วง 2-3 ปีหลังที่ผ่านมาซึ่งทำให้ศรัทธาของแฟนบอลที่มีต่อทีมชาติไทยเสื่อมลงไปมาก แต่ทีมชุดนี้ จากการที่ผมได้ดูฟอร์มการเล่นในรอบแรกสามนัด ผมเห็นว่านักเตะชุดนี้ดูจะช่วยกันเล่นอย่างตั้งใจ แม้ฟอร์มการเล่นจะไม่ได้เลิศเลอและยังมีข้อผิดพลาดอยู่มาก แต่ก็ดูมีความตั้งใจเล่นเพื่อทีม ไม่มีการแอ๊ค ไม่เห็นแก่ตัว และไม่เล่นคน

เท่านี้แหละครับที่แฟนบอลอย่างผมขอ ตั้งใจฝึกซ้อม เล่นบอลให้สวยงาม สร้างสรรค์ และเล่นเป็นทีม ไม่ต้องไปฟุ้งซ่านตั้งเป้าสูงๆว่าจะเข้าฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายหรืออะไรหรอก ทำหน้าที่ให้ดีมีความเป็นมืออาชีพและมีความรับผิดชอบในการฝึกซ้อม การเล่นก็จะออกมาดีเอง… แค่นี้ก็ชนะใจคนดูแล้ว

ผมมาถึงหน้าสนามตอนบ่ายสองหน่อยๆ ปรากฏว่ามีแฟนบอลนับร้อยคนมายืนรอต่อแถวซื้อตั๋วกันที่ช่องขายตั๋วริมฟุตบาท แถวยาวเสียจนกินส่วนของถนนพระรามหนึ่งไปหนึ่งเลน ผมเข้าไปยืนต่อแถวกลางแดดร้อนอยู่ห้านาที แถวก็ไม่ขยับเลย จนแม่ค้าหมูปิ้งตรงนั้นตะโกนบอกว่าตั๋วยังไม่เปิดขายเลยนะ จะเริ่มเปิดขายตอนสามโมง เมื่อได้ยินเช่นนี้ ผมเลยขอหลบแดดไปหาอะไรทำฆ่าเวลา สุดท้ายก็ไปลงเอยกับการอ่าน “วิหารที่ว่างเปล่า” ที่สตาร์บัคส์

ผมกลับไปที่หน้าสนามอีกครั้งตอนสี่โมงกว่า ผมซื้อตั๋วใบละร้อยสามใบ สำหรับน้องชายผมและเพื่อนผมอีกคนที่กำลังตามมาสมทบ

บรรยากาศหน้าสนามในวันนี้คึกคักมากที่สุดในรอบหลายปี ผู้คนทั้งหนุ่มสาว เด็ก ผู้ใหญ่ ต่างพากันหลั่งใหลเข้าสู่สนามอย่างต่อเนื่อง แม้คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอุปกรณ์การเชียร์ หรืออย่างมากก็อาจจะมีแค่ผ้าผืนเล็กๆลายธงชาติไทยผูกหน้าผาก (มีพ่อค้าแม่ค้าเดินขายอยู่หลายเจ้า ราคาผืนละ 10 บาท) แต่เมื่อสังเกตดูจากสีหน้าและสายตาของหลายคนแล้ว ผมคิดว่าวันนี้พวกเขาพกพาหัวใจมาเพื่อเชียร์ทีมชาติไทยอย่างแท้จริง

จริงอยู่ว่าแต่ละคนที่มาดูบอลไทยอาจจะมาเชียร์ไทยด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป หรือบางคน (เช่นตัวผม) ก็อาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมเราจะต้องคอยเชียร์ทีมชาติของเราในการแข่งขันฟุตบอลหรือกีฬาชนิดอื่นๆด้วย แต่อย่างน้อยที่สุด ฟุตบอลและกีฬาก็มีพลังอำนาจที่จะเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนจำนวนมากที่มีภูมิหลังแตกต่างกันได้ ฟุตบอลและกีฬาสามารถทำให้จิตใจของคนในชาติหล่อหลอมรวมเป็นหนึ่งได้ มันทำให้เรามีจุดหมายปลายทางเดียวร่วมกันได้ แม้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ตาม

ตลอดเกมเก้าสิบนาที พวกเราและทุกๆคนในสนามต่างก็มีความสุขสนุกมากกับการเชียร์และลุ้นทีมชาติไทย เรียกว่าประทับใจมาก จริงๆแล้วผลการแข่งขันก็ไม่สำคัญเท่ากับการได้มาสัมผัสบรรยากาศติดขอบสนาม ไม่สำคัญเท่ากับภาพที่น่ารักประทับใจหลากหลายภาพที่ได้เห็น เช่น พ่อแม่พาลูกๆ (หรือลูกๆพาพ่อแม่?) มาดูบอลกันเป็นครอบครัว หรือภาพคู่รักหนุ่มสาวจูงไม้จูงมือกันมาเชียร์บอล หรือภาพคุณลุงคนนึงที่อุตส่าห์ไปหาแตรที่บีบได้ดังมากๆมาเป็นอุปกรณ์การเชียร์

ภาพต่างๆเหล่านี้ทำให้ผมนึกถึงความฝันของตัวเองที่คิดไว้ว่า สักวันหนึ่งผมจะต้องไปเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลฟุตบอลโลกให้ได้ จะไปคนเดียว ไปกับเพื่อน หรือไปกับครอบครัวก็ได้ ผมอยากเดินทางไปสัมผัสบรรยากาศของ World Cup Fever ในประเทศเจ้าภาพจริงๆสักครั้ง ไปเดินเที่ยวชมและนั่งเล่นในเมืองที่เป็นเจ้าภาพ หาเพื่อนใหม่ต่างชาติคุยเล่นตามประสาคนรักฟุตบอล และถ้าหาตั๋วได้ก็อยากจะเข้าไปชมการแข่งขันในสนามสักนัด ถ้าหาไม่ได้ก็ไปชุมนุมในลานที่มีจอทีวียักษ์ให้ชมก็ถือว่าได้บรรยากาศสุดยอดแล้ว

ฟุตบอลโลกสำหรับผม ไม่ได้หมายถึงแค่การแข่งขันภายในสนาม แต่มันประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในสนามและนอกสนาม ชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆทั้งหลายเหล่านี้ร่วมด้วยช่วยกันทำให้ฟุตบอลโลกกลายเป็น “มหกรรม” หรือ “เทศกาล” อันยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ลองคิดดูว่าหากประเทศเจ้าภาพทำเพียงแค่จัดการแข่งขันอย่างเดียว ไม่ได้เตรียมการเรื่องอื่นๆนอกสนามเลย ฟุตบอลโลกก็คงจะสิ้นมนต์ขลัง บรรยากาศของฟุตบอลโลกแบบนั้นคงจะจืดชืด ขาดคุณค่าและความหมาย คงจะสู้การแข่งฟุตบอลกีฬาสีในโรงเรียนประถมเมืองไทยที่มีเด็กๆเชียร์สีของตัวเองกันอย่างสนุกสนานครื้นเครงไม่ได้ด้วยซ้ำ…


คิดๆดูแล้ว ชีวิตคนก็คล้ายคลึงกันใช่หรือไม่... หลายครั้ง ผมรู้สึกว่าสิ่งเล็กๆน้อยๆในชีวิตกลับทำให้ผมรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มีสีสัน และมีความหมายได้มากกว่าความสำเร็จชิ้นใหญ่ที่เป็น "ทางการ" หลายเท่านัก

(เรื่องนี้ยังไม่จบนะครับ ไว้จะมาเขียนต่อเร็วๆนี้ครับ)